การสังเคราะห์คุณลักษณะเชิงบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนและเนื้อหากลุ่มสาระวิชา สำหรับนิสิตนักศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ ในยุคปัจจุบัน ผู้สอนจำเป็นต้องบูรณาการความรู้หลากหลายด้านทั้งความรู้ด้านเทคโนโลยี ด้านศาสตร์การสอน และด้านเนื้อหารายวิชา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษา ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงมีเป้าหมายเพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะเชิงบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนและเนื้อหากลุ่มสาระวิชา การสังเคราะห์คุณลักษณะดังกล่าวได้จากการประชุมเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน พร้อมทั้งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและตรวจสอบความตรงของคุณลักษณะเชิงบูรณาการฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ผลวิจัยพบว่า 1. ผู้เชี่ยวชาญสะท้อนข้อคิดเห็นว่า นิสิตนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษา ควรมีคุณลักษณะเชิงบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนและเนื้อหากลุ่มสาระวิชาโดยความรู้แต่ละด้านมีคุณลักษณะบ่งชี้ถึงสมรรถนะ 7ด้านแต่ละสมรรถนะมีคุณลักษณะบ่งชี้ 6 ข้อ รวมทั้งสิ้น 42 ข้อ 2. ค่าดัชนี IOC ของคุณลักษณะเชิงบูรณาการฯ มีค่าอยู่ในระดับ 0.67 – 1.00 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมแบบปรับแก้ (Corrected Item-total correlation) อยู่ที่ .237 - .771 4. หลังจากตรวจสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมแบบปรับแก้แล้ว พบว่ามีคุณลักษณะที่เป็นตัวบ่งชี้บางสมรรถนะมีค่าต่ำกว่า .200 จึงตัดออก ดังนั้นคุณลักษณะบ่งชี้จึงมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ข้อ 5. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการวัดที่มีการปรับปรุงมีความกลมกลืนกับข้อมูล ทั้งรูปแบบลำดับที่ 1 (c2 =1323.87, df = 708, Relative c2 = 1.95, RMSEA = .040, SRMR = .037, NNFI = .99) และรูปแบบลำดับที่ 2 (c2 = 1428.63, df = 722, Relative c2 = 1.98, RMSEA = .042, SRMR = .043, NNFI = .982) คำสำคัญ : คุณลักษณะเชิงบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอน และเนื้อหา วิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา ABSTRACT In this current time, instructors should integrate various disciplinaries including technological, pedagogical, and content knowledges for increasing proficiency in learning especially in Science/Mathematics education. This study focused on synthesizing attributes of technological, pedagogical, and content knowledge. Each attribute was synthesized from focus group that included seven experts who shared learning experiences and opinions in Science/Mathematics education. After that, researchers used content validation and confirmatory factor analysis (CFA) to examine model with empirical data. The result showed that 1. Experts expressed opinions and perspectives in learning that teacher students in Science/ Mathematics education should have integrated performance in knowledges in technology, pedagogy, and content; which, they should have fundamental intechnology, pedagogy, and content. As a result of data synthesizing, there were seven competencies that includedsix indicators in each competency; therefore, there were 42indicators in total. 2. Item-Objective Congruence Index (IOC) was on 0.67 – 1.00 3. The result of corrected Item-total correlation was on .237 - .771 4. As a result of corrected item-total correlation verifying, two questions from two indicators that were lower than .200 were eliminated from list. Accordingly, there were 40 indicators on total. 5. The confirmatory factor analysis showedconformed to empirical data: the first order model (c2 =1323.87, df = 708, Relative c2 = 1.95, RMSEA = .040, SRMR = .037, NNFI = .99)as well as the second order model (c2 = 1428.63, df = 722, Relative c2 = 1.98,RMSEA = .042, SRMR = .043, NNFI = .982). Keywords: Technology, Pedagogy, and Content Knowledge (TPCK); Science Education; Mathematics Education
Article Details
How to Cite
อังณะกูร พ., อัสสพันธุ์ ส., & โสภณหิรัญรักษ์ เ. (2019). การสังเคราะห์คุณลักษณะเชิงบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนและเนื้อหากลุ่มสาระวิชา สำหรับนิสิตนักศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและคณิตศาสตร์ศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12293
Section
บทความวิจัย (Research Articles)