กลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.)ในระดับการอาชีวศึกษา ประเทศไทย

Main Article Content

ดำรงค์ ตุ้มทอง
พัชรินทร์ สิรสุนทร
เอื้อมพร หลินเจริญ
ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์
Robin Humphrey

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับการอาชีวศึกษา 2)พัฒนากลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับการอาชีวศึกษา และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของประเทศไทย โดยมี3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับกองทุนเงินให้กู้ยืมทางการศึกษาที่มีการปฏิบัติที่ดีจาก 10 ประเทศ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กับกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 ราย เพื่อทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนเงินให้กู้ยืมทางการศึกษาในระดับการอาชีวศึกษา และการตรวจสอบกลยุทธ์การให้ทางเลือกฯ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน และขั้นตอนที่ 3 จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาด้วยเทคนิครากหญ้า (Grassroots Technique) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย จำนวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)ในระดับการอาชีวศึกษา ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านระยะเวลาปฏิบัติงาน2) ปัจจัยด้านเจตคติที่ดีต่อการชำระเงินคืนกองทุนฯ 3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านค่าเล่าเรียน 4) ปัจจัยไม่เคยถูกมาตรการทำโทษจากกองทุนฯ 5) ปัจจัยด้านการชำระโดยการหักเงินในบัญชีเงินฝาก 6) ปัจจัยด้านการชำระผ่านระบบกรุงไทย Tele Bank 7) ปัจจัยด้านการไม่มีการรับรองหลักฐานรายได้ครัวเรือน และ 8) ปัจจัยด้านสถานศึกษาเป็นแหล่งตรวจสอบคุณสมบัติ 2. กลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับกองทุนเงินให้กู้ยืมทางการศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง 2) กลยุทธ์การสร้างความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มเป้าหมาย 3) กลยุทธ์ให้อย่างยั่งยืน 4) กลยุทธ์ให้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม 5) กลยุทธ์การปฐมนิเทศเชิงรุกและการปฏิสัมพันธ์ของภาคีภาคส่วน 6) กลยุทธ์บรรเทาและแก้ไขปัญหาหนี้เสีย และ7) กลยุทธ์การประเมินระยะยาว 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายประกอบด้วย 1) การทบทวนการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้กู้ยืมให้มีความเหมาะสม 2)แลกเปลี่ยนข้อมูลขนาดใหญ่ร่วมกันกับภาคีส่วนต่าง ๆ 3) มุ่งเน้นที่กลุ่มผู้กู้ด้อยโอกาสที่มีศักยภาพ 4) เพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่แนะแนวและเจ้าหน้าอื่น ๆ 5) ค้นหาสถาบันการอาชีวศึกษาต้นแบบเพื่อการขยายผลและสร้างเครือข่ายการให้ที่เข้มแข็ง 6) นำระบบฐานภาษีมาใช้ในการจัดเก็บการชำระเงินคืนที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินคืนให้สอดคล้องกับรายได้ และ 7) ประเมินความสำเร็จของการดำเนินการในรอบปี และประเมินการตอบแทนทางสังคมของลูกหนี้ และยกย่องผู้กู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม คำสำคัญ:กลยุทธ์การให้ทางเลือกประสิทธิภาพกองทุนฯการอาชีวศึกษา   ABSTRACT This research aimed to; analyse factors affective the efficiency of Thailand’s Student Loan Fund for vocation education, develop an alternative strategic giving model that would enhance the efficiency of the fund, and provide policy recommendations. The research involved the following processes; 1) analysis of factors that influence the efficiency of the Student Loan Fund for vocational education by examining 34 documentations relevant to student loan schemes from 10 countries. This also required testing of factors that influence the efficiency of the Student Loan Fund by using multiple regression analysis involved 400 samples. 2) Development of the alternative strategic provision model in order to enhance the efficiency of the Student Loan Fund for vocational education. 3) Proposing of policy recommendation. This study found that: 1.the efficiency of the student loan scheme were characterized by the following factors, 1)operation time period, 2) positive attitude towards loan repayment, 3) study expenses supports, 4) an absence of penalty enforced by the Student Loan Fund, 5) loan payment by direct debit, 6) payment via Krung Thai bank’s Tele Bank,7) an absence of certification for household’s income, 8) eligibility assessment by educational institution. 2.The alternative strategic giving included; 1) risk preventions 2) provision that instigates changes in target group 3) sustainable application of the strategic provision 4) equality and righteousness 5) proactive orientationand interactions between alliances 6) non-performing loan restructure and bad debt’s relief and resolution 7) long term assessment. 3.Policy recommendations included1) selection criteria should be reviewed to identify suitable loan applicants, 2) promotion of awareness regarding repayment as well as a formation of network alliance to exchange information among alliances, 3) emphasison underprivileged students and increase the number of counsellingteachers to work at their full capacity. 4)enhancing potentials of counselling and other staffs and broaden activities that lead to success in different aspects. 5) Pilot vocational institution should introduce these activities in other areas to increase a strong learning network 6) introduction of an effective debt collection via tax system which stipulates payment conditions that are commensurate with incomes and 7) assessing annual operational success, particularly debt collections as well as contributions of borrowers to the society and their commendation as a role model. Keywords: Alternative Strategic Giving,Efficiency Educational Funding, Vocational Education.

Article Details

How to Cite
ตุ้มทอง ด., สิรสุนทร พ., หลินเจริญ เ., ศิริพรไพบูลย์ ท., & Humphrey, R. (2019). กลยุทธ์การให้ทางเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.)ในระดับการอาชีวศึกษา ประเทศไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/12291
Section
บทความวิจัย (Research Articles)