ผลของโปรแกรม I AM TAP ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การคิดเชิงบริหาร (Executive Function) หรือทักษะสมอง EF คือ กระบวนการทำงานของสมองระดับสูง ที่ควบคุมความรู้สึก การรู้คิดและพฤติกรรม ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วยในการตัดสินใจ ทักษะพื้นฐานของการคิดเชิงบริหารที่สำคัญคือ การยับยั้งชั่งใจ ความจำเพื่อใช้งาน และการยืดหยุ่นความคิด งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ไอ แอมแท็ป ต่อทักษะพื้นฐานของการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย โปรแกรม ไอแอมแท็ป เป็นโปรแกรมการใช้กิจกรรมกลุ่มจำนวน 10 กิจกรรม สำหรับใช้ร่วมกับแผนการเรียนการสอนในห้องเรียนเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานของทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย แต่ละกิจกรรมถูกพัฒนาขึ้นตามแนวทางการจัดกิจกรรมตามแนวทาง EF Guideline ซึ่งเป็นหลักการวางแผนจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นตามหลักการทำงานของสมองและทักษะมอง EF งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีกลุ่มควบคุมและมีการทดสอบก่อน และหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4–6 ปี จำนวน 68 คน ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนอนุบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 31 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 37 คนเด็กในกลุ่มทดลอง จะได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มในโปรแกรมไอแอมแท็ป จำนวน 18 ครั้ง ครั้งละ 20–30 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ ส่วนเด็กในกลุ่มควบคุม เข้าร่วมกิจกรรมตามแผนการเรียนการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (MU.EF–101) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ(paired sample t-test) และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน(independent sample t-test) ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดเชิงบริหารหลังเข้าร่วมโปรแกรม I AM TAP สูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 2) เด็กกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารสูงกว่าเด็กในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 คำสำคัญ: การคิดเชิงบริหาร โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร เด็กปฐมวัย ABSTRACT Executive function (EF) is a set of higher - orderofmental processes for regulating emotions, cognition and behaviors to achieve goal–directedbehaviorsby accomodating previous experience. The basic skills of EF include inhibitory control, working memory and shifting. The purpose of this research was to investigate the I AM TAP program on children’s basic EF skills. I AM TAP program is a set 10 group activities developed for integrating to the preschool’s regular lesson plans in in order to promote the basic EF skills. Each activity was develpped based on EF Guideline, the principles of EF activating for planning learning experiences. Quasi–experimental research with control group and pre-test and post-test was designed. The total sample was 68 children aged 4 to 6 years old, studying in a public kindergarten. The sample was divided into 2 groups including the experimental group (n = 31) and control group (n = 37). The children in the intervention group participated in I AM TAP program for 20-30 minutes each time, 2 times a week for 9 weeks. The children in the control group participated in the regular school activities. The Assessment of Executive Function in Early Childhood (MU.EF–101) was utilized to evaluating the sample’sEFskills. Paired sample t-test and independent t-test was utilized to analyze the data. The results showed that the children in the experimental group significantly had higher posttest–mean scores than theirpretest–mean scores on allthebasic EF skills (p < 0.001). The analysis of independent t–test showed that the children in the intervention group significantly had higher mean scores on allthebasic EF skill development, comparing to the childrenin the control group (p < 0.001). Keywords: Executive Function Skills, EF Skills, Program, Intervention, Preschool
Article Details
How to Cite
ตาแม่ก๋ง อ. (2019). ผลของโปรแกรม I AM TAP ต่อทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11832
Section
บทความวิจัย (Research Articles)