รูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุทธญาณ์ ใจซื่อ
เด่น ชะเนติยัง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เสนอรูปแบบการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดใหม่ โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดใหม่ 2) การใช้เทคนิคเดลฟายกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดใหม่ จำนวน 21 คน 3) จัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และ 4) ประเมินความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 392 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผ่านการประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นว่าเหมาะสมในระดับมาก (  = 4:30) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้านได้แก่ 1) ด้านการยึดองค์กรเป็นศูนย์กลาง 2) ด้านการปรองดอง 3) ด้านการไกล่เกลี่ย 4) ด้านการยอมให้ 5) ด้านการหลีกเลี่ยง และ 6) ด้านการแข่งขัน และมีตัวชี้วัด 30 องค์ประกอบ คำสำคัญ : การบริหารความขัดแย้ง  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  แนวความคิดใหม่ ABSTRACT The purposes of the study were: 1) to investigate the new conflict management model in the basic school; and 2) to present the new conflict management model in basic school. The research methodology consisted of four steps: 1) Analyzed the documents concerning the new conflict management model in basic school; 2) Using Delphi Techniques with group of 21 experts on conflict management model in basic school;     3) sought the advices and feedbacks from nine experts by using group discussion technique; and 4) evaluated the opinions of 392 school administrators and teachers. The analysis of the data was accomplished by computation of percentage, mean, standard deviation. The median and interquartile range were also computed to test each of the agreement postulated in the study. Based upon the findings of the study, it was concluded that : All  experts both  Delphi Technique and Focus Group discussion agreed  with the new conflict management model of basic school which consisted six factors : competition, avoidance, sanction, organizational centralization, accommodation and mediation. Overall, the opinions of administrations and those who concerned absolutely agree with the new conflict management model of basic school.  (  = 4:30) Keywords: Conflict Management, Basic School, The New Model

Article Details

How to Cite
ใจซื่อ ส., & ชะเนติยัง เ. (2019). รูปแบบการบริหารความขัดแย้งตามแนวความคิดใหม่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11831
Section
บทความวิจัย (Research Articles)