รูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้สมรรถนะนักศึกษาครู (2) เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพรูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม สอบถาม และประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ผู้สอน ครูและนักศึกษาครูผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบ (1) ความรู้ความเข้าใจวิชาพื้นฐานวิชาชีพครู (2)ความรู้ความเข้าใจที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ (3)ความรู้ความเข้าใจในบริบทของสังคม(4)ทักษะการจัดการเรียนรู้ (5) ทักษะการใช้สื่อ เทคโนโลยี (6) ทักษะการสื่อสาร (7) ทักษะการดำรงตนในสังคม 8) จิตสำนึก ความตระหนัก (9) การปฏิบัติตน (10) คุณธรรม จริยธรรม ความแปรปรวนขององค์ประกอบทั้งหมดอธิบายตัวบ่งชี้ได้ ร้อยละ 79.78 ค่าดัชนีความสอดคล้องโครงสร้างการประเมินกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ Chi square/df=1.96, RMSEA=0.03, CFI=1.00 และGFI=0.93 ทั้ง 60 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงที่ =0.05 และมีความเชื่อมั่นระหว่าง 0.62 – 0.83 รูปแบบมีความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างดีและความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างผ่านเกณฑ์กำหนดมีมาตรฐานระดับดีมาก ด้านการมีประโยชน์ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความแม่นยำ คำสำคัญ: รูปแบบการประเมิน นักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะครู ABSTRACT The objectives were (1) to synthesize and assess the quality of indicators and factors of a pre-service teacher’s competency (2) to develop and evaluate the quality of the 21st century teacher’s competency evaluation model. Data collection process in cludesan interview, focus group, questionnaire and evaluation. Descriptive statistics, Exploratory Factor Analysis and First and Second Order Confirmatory Factor Analysis were the techniques used for data analysis. The samples include educational expert, instructors, teachers and pre-service teachers. The study showed that the components of the evaluation model of pre-service teacher’s competency in the 21st century were (1) proficiency of basic subjects for professional teachers, (2) proficiency for promoting learning efficiency, (3) proficiency of the social context, (4) learning management skill, (5) media technology skill, (6) communication skills, (7)skills of self-behave in social, (8) conscious and awareness, (9)self-practice, and (10) moral and ethics.The total variance of the components were 79.782%. The fit in dexesindicated the consistency of the structure evaluation model with empirical data includes Chi square/df=1.96, RMSEA = 0.02, CFI =1.00 and GFI=0.93.The validity was measured at =0.05 and the reliability were between 0.62 to 0.83 for all 60 indicators. The construct reliability of this model indicated good reliability and the construct validity was consistent with standard criterion. The quality of the model was consisted including utilities, feasibility, proprietary and accuracy all of which were in a very good standard indicating. Keywords: Evaluation Model, Pre-Service Teacherin the 21st Century, Teacher’s Competency
Article Details
How to Cite
ชมภูคำ พ. (2019). รูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11825
Section
บทความวิจัย (Research Articles)