แบบแผนและปัจจัยกำหนดการใช้เวลาในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนการใช้เวลาและปัจจัยกำหนดการใช้เวลาในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลดิบจากสำรวจการใช้เวลาของประชากร ปี 2544, 2547, 2552 และ 2558 จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ นำมาวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบของศูนย์ ผลการศึกษา พบว่า แบบแผนการใช้เวลาในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไทยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วง ปี 2544-2558 กล่าวคือ เกือบทั้งหมดไม่ได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ และกลุ่มที่ได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ การเข้าชมเหตุการณ์ทางด้านวัฒนธรรมองค์การหรือมวลชน/การเข้าชมสวนสาธารณะหรือสวนและการแสดง/ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์/ศิลปะการแสดง(การเต้นรำ/การแสดงดนตรี/การแสดงละคร) จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมการเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น จากการตระหนักถึงการเป็นสังคมสูงวัยของสังคมไทยและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ไม่ได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ ประเด็นนี้อาจสะท้อนได้ 2 มิติ ได้แก่ การให้นิยามเกี่ยวกับการเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่ครอบคลุมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับช่วงวัย และ การนำนโยบายไปปฏิบัติจริงที่ต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ คำสำคัญ: การเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้สูงอายุ การใช้เวลา การถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบของศูนย์ ABSTRACT The aims of this article were to study the pattern and determinants of time use for the learning of elderly in Thailand. Data sets used in this study conducted by the National Statistical Office: the Time Use Survey 2001, 2004, 2009, and 2015. A Zero-inflated negative binomial regression model was used for data analysis. The findings pointed out a few changes in the pattern of time use for learning of Thai elderly. In other words, mostly elderly are not engaged in learning and in the engaging group mostly engaged in informal learning, namely attending/visiting cultural, organization, or mass, events; attending/visiting parks or shows; visual arts; literary arts performing arts (dance, music, theatre). Although the society is more aware of aged society and more policies enhancing elderly quality of life, plenty of elderly did not engage in learning activities. The results may reflect in 2 dimensions; definition of elderly learning is not appropriate to their age and an access to learning platform should consider when policy implementation. Keywords: Lifelong Learning, Elderly, Time Use, Zero-Inflated Negative Binomial Regression
Article Details
How to Cite
อัศตรกุล ฐ. (2019). แบบแผนและปัจจัยกำหนดการใช้เวลาในการเรียนรู้ของผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11824
Section
บทความวิจัย (Research Articles)