การพัฒนานวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อม เพื่อส่งเสริม ความรู้ทางดาราศาสตร์ของประชาชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมเพื่อส่งเสริมความรู้ทางดาราศาสตร์ของประชาชน 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมเพื่อส่งเสริมความรู้ทางดาราศาสตร์ของประชาชนตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้เข้าชมนวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ (รุ่นที่ 4) จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้สอนทางดาราศาสตร์และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบประเมินนวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ (รุ่นที่ 1 – 4) 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ (รุ่นที่ 4) ภายหลังการจดสิทธิบัตร และ 5) แบบทดสอบความรู้ทางดาราศาสตร์ผลการวิจัยสรุปได้ 1) นวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ มีการพัฒนา 4 รุ่น โดยในรุ่นแรกใช้วัสดุที่หาได้ง่าย เช่น ถุงดำ ท่อพีวีซีเป็นโครงสร้างหลัก และพัฒนาจนได้ท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ ที่ผลิตจากแผ่นอะคริลิกซึ่งมีความคงทน ใช้บานพับอะลูมิเนียมเป็นตัวยึด 2) เมื่อนำนวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ ไปใช้ พบว่า ประชาชนผู้เข้าชมหลังชมนวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อมฯ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบความรู้ทางดาราศาสตร์เรื่องจักรราศีและดาวฤกษ์สูงกว่าก่อนเข้าชมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 8.58, p= 0.00) คำสำคัญ: นวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อม ความรู้ทางดาราศาสตร์ ABSTRACT The research is a research and development which has objectives 1) to develop the junior planetarium for astronomical studies of people and 2) to study the outcomes of the junior planetarium for astronomical studies of people. The Sample of this study was 50people who participated in the junior planetarium (the forth version). The research instruments were 1) interviewing tests on astronomical teachers and junior high school students 2) evaluation tests of the junior planetarium evaluated by specialists 3) satisfactory tests of the junior planetarium (the first to the forth version) 4) satisfaction questionnaires of the junior planetarium after patent registration (the forth version) , and 5) astronomical knowledge tests. The research findings were marized as follows 1) the junior planetarium comes through 4generations. The first version was made of secondary materials such as black plastic bags and PVC tubes as the main structure and it was developed until becomes the last version made of stable materials such as acrylic sheet and a hinge of aluminium as the connector 2) When implementing this innovation, it was found that the post-test scores of participants’ understanding of zodiac and stars measured by statistical at .05level of significance. (t = 8.58, p= 0.00) Keywords: Junior Planetarium, Astronomical Studies
Article Details
How to Cite
เชาว์ปรีชา ฉ. (2019). การพัฒนานวัตกรรมท้องฟ้าจำลองขนาดย่อม เพื่อส่งเสริม ความรู้ทางดาราศาสตร์ของประชาชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11820
Section
บทความวิจัย (Research Articles)