การนำความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะไปใช้ปฏิบัติการสอนในห้องเรียนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรผลิตครู 2 ปี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ (TPACK) ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในวิชาวิทยาศาสตร์และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่นิสิตนำไปใช้ในการปฏิบัติการสอนคนละ 1 แผน วิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลแผนการจัดการเรียนรู้โดยการตีความเพื่อหารูปแบบและข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า การฝึกปฏิบัติการสอนจริงในโรงเรียนช่วยส่งเสริมให้นิสิตมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะเพิ่มขึ้นทั้ง 4 องค์ประกอบ (TK, TCK, TPK และ TPACK) โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาเฉพาะ (TPACK) มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันมากที่สุด ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 2.28 หลังเรียนมีค่าเท่ากับ 2.48 โดยรูปแบบของ TPACK ที่นิสิตครูใช้ในการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่ คือ ใช้เทคโนโลยีผนวกเข้ากับกิจกรรมการลงมือปฏิบัติในกระบวนการสอนแบบสืบเสาะ ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการค้นหาหลักฐานในเนื้อหาที่ไม่สามารถทดลองหรือวัดค่าได้โดยตรงและนิสิตมีการบูรณาการเทคโนโลยีในลักษณะของการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียวกับกิจกรรมมากกว่าการบูรณาการเข้าไปเพียงบางส่วนของกิจกรรมแต่อย่างไรก็ตามนิสิตครูบางส่วนใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน และอธิบายแนวคิดในระดับจุลภาคเท่านั้น คำสำคัญ : ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะ นิสิตครู วิทยาศาสตร์ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ABSTRACT The purpose of this research was to investigate how science student teachers enacted Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) during field experience. The participants comprised fifteen student teachers pursuing a master’s degree of science education. The instruments consisted of 1) a questionnaire about student teachers’ ability to use TPACK in science teaching and 2) the science lesson plans designed and implemented by the participants. Descriptive statistics and inductive analysis were used to analyze the data. The study found that the authentic teaching experience could enhance science student teachers’ TPACK in all four components. The integrated component of TPACK, in particular, had the biggestdifference Between pretest and posttest scores. The pretest score was at 2.28 and posttest score was at 2.48. Regarding the patterns of The TPACK enactment, technology was incorporated into hands-on activities during inquiry process, technology used as a learning tool for students to find evidence in the science topics that could not be directly observed, experimented or measured in a classroom setting, and technology was integrated throughout their lessons rather than did it in some parts of the activities. However, some student teachers used technology only to stimulate students' interest and represent the concept at the micro level. Keywords: Technological Pedagogical Content Knowledge, Student Teacher, Science, Field Experience
Article Details
How to Cite
ทานาค เ. (2018). การนำความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะไปใช้ปฏิบัติการสอนในห้องเรียนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรผลิตครู 2 ปี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11055
Section
บทความวิจัย (Research Articles)