การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วิจิตร จันดาบุตร
วิทยา อยู่สุข
วิโรจน์ เซมรัมย์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี  ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยมีเงื่อนไขของการกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมา โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นบุคลากรทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน      9 คน และกลุ่มตัวแทนประชาชนและตัวแทนผู้ปกครองคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม        การสังเกต การบันทึกและถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา 1) สถานการณ์และสภาพปัญหา พบว่ากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ขาดการสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและระบบการกำกับติดตามยังขาดความต่อเนื่อง 2) กระบวนการ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาในพื้นที่ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลและการประเมินพัฒนาการเด็กด้วยคู่มือ DSPM 3) การวางแผน 4) การปฏิบัติตามแผนงาน 5) ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 6) การติดตามและประเมินผลทุก 3 เดือน7) จัดเวทีสะท้อนผลติดตามผลการปฏิบัติ 8) สรุปผลการดำเนินงาน3) หลังการพัฒนา กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นจากเดิมอยู่ในระดับน้อย คือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.03 คะแนน หลังการพัฒนาพบว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีความรู้อยู่ในระดับสูง มีค่าคะแนนเฉลี่ย 29.37 คะแนน และเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 77.27 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย คือ การสร้างภาคีเครือข่ายในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มีการกำหนดแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้กระบวนมีส่วนร่วม มุ่งเน้นให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญและเข้าใจบทบาทของตนเองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก มีการกำกับติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ : การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   ABSTRACT The Action research aimed to study the process for enhancing of the pre-school Child Development Center in Sewichian Municipality, NumYuen District, Ubon Ratchathani province. Researchers screened samples with The conditions of the defining features of the sample selected. The method of selecting specific (Purposive Sampling), which could be classified into two groups: 1) local administrators Educational and public health officers were 9 people. 2) The public representatives and agents who ruled in child development center, the 28 people, including the 37 people. Data were collected both quantitative and qualitative methods, using questionnaires, in-depth interviews, discussion groups, observation, otter, record and take lessons. The data were analyzed by using the descriptive statistics, frequency, mean, percentage, and standard deviation. Qualitative data were analyzed by content Analysis. The results of the study 1) Situation and Problems, it was found that the group of stakeholders to promote child development strongly, also lack the knowledge and understanding to promote early childhood development The lack of the participation in the promotion of child development.Monitoring system lacks consistency. 2) Process, to promote early childhood development consists of 8 steps 1) to analyze the situation and problems in the area 2) Data collection and Child Development Assessment Handbook DSPM 3) Planning        4) implementation of participatory management 5) networks. 6) Monitoring and evaluation of all 3 months          7) stage reflect the effect track performance 8) the performance. 3) After the development of the process to promote early childhood development, the results of this study found that the majority of Have knowledge about promoting the development in low level, the average 19.03 points. Consider revising Knowledge is in a higher level, the average 29.37 points. And young children in child development center have developed properly increase percentage of 77.27 factors of success in promoting the development of young children. In conclusion, the factors of success are having a complete network to target together. The guidelines apply to participate in the development of pre-school children in child care centers. All parties understood their role and actions. Monitoring and evaluation in the process are continuously conducting. Keywords: Development, Promote Development of Children, Children in Child Development Center.

Article Details

How to Cite
จันดาบุตร ว., อยู่สุข ว., & เซมรัมย์ ว. (2018). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10414
Section
บทความวิจัย (Research Articles)