การศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Kahoot ในการวัดประเมินผลระหว่างเรียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการยอมรับการใช้ Kahoot ในการวัดประเมินผลระหว่างเรียนของผู้เรียน และเพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของปัจจัยการรับรู้ที่มีต่อการยอมรับการใช้ Kahoot ระหว่างกลุ่มผู้เรียนในรายวิชาเดียวกัน โดยศึกษาปัจจัยการรับรู้บนพื้นฐานโมเดลการยอมรับเทคโนโลยี หรือ TAM ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในกลุ่มนักวิจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการใช้ Kahoot จากนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาในรายวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยกลุ่ม A เป็นนักศึกษารหัส 56 ที่ศึกษาวิชานี้ในปีการศึกษา 2/2558 และกลุ่ม B เป็นนักศึกษารหัส 57 ที่ศึกษารายวิชานี้ ในปีการศึกษา 2/2559 เครื่องมือในการวิเคราะห์ผลทางสถิติ คือ SmartPLS และSPSS ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับใช้ Kahoot ของผู้เรียนกลุ่ม A ที่ไม่มีประสบการณ์การใช้ Kahoot มาก่อน มีการยอมรับที่จะใช้ Kahoot โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่กลุ่ม B ซึ่งที่มีประสบการณ์การใช้ Kahoot ในรายวิชาอื่นมาก่อนมีการยอมรับการใช้ Kahoot อยู่เพียงระดับมาก ผลการวิจัย ยังแสดงให้เห็นความแตกต่างอิทธิพลของปัจจัยการรับรู้ทั้ง3 ด้านที่มีต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยี Kahoot ระหว่างกลุ่ม A และ กลุ่ม B ปัจจัยการรับรู้ทั้งสามด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และด้านความสนุกสนาน คำสำคัญ : การวัดผล การสอบย่อย เทคโนโลยี โมเดลการยอมรับเทคโนโลยี ABSTRACTThis study aims to study the level of acceptance to use Kahoot in quiz, and to compare the factors’ influences of student’s perceptions on their Kahoot acceptances. The research studied perceived factors based on the Technology Acceptance Model or TAM which is well-known among international IT researchers and academics. The study used survey questionnaire to collect data from sample groups. There are two sample groups in this study. First, Group A is the group of students who has student-id beginning with 56 and studied Software Engineering in 2/2558. Second, Group B is the group of students who has student-id beginning with 57 and studied Software Engineering in 2/2559. The study analyzed the collected data using SmartPLS and SPSS. The results show the acceptance level of Group A is very much, while the level of Group B is only very acceptance. The possible reason is the differences of Kahoot experiences between Group A and Group B. Furthermore, the results show the differences of factors’ influence on Kahoot acceptance between Group A and Group B in terms of perceived usefulness, perceived ease-of-use and perceived enjoyment. Keywords: Examination, Quiz, Technology, Technology Acceptance Model
Article Details
How to Cite
ตระกูลเมฆี น. (2018). การศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Kahoot ในการวัดประเมินผลระหว่างเรียน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/10407
Section
บทความวิจัย (Research Articles)