การอ่านภาพจากหนังสือนิทานเรื่อง “แม่ไก่ไปเดินเล่น”: แนวทางการเรียนรู้ภาษาภาพสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ธันยา พิทธยาพิทักษ์

Abstract

บทคัดย่อบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาภาพสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้อธิบายความหมายของการรู้ภาษาภาพ ลำดับขั้นของการเรียนรู้ภาษาภาพ ทักษะการรู้ภาษาภาพสำหรับเด็กปฐมวัย และความสำคัญของการอ่านภาพจากการศึกษาและวิเคราะห์บทความวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนำเสนอการตอบสนองของเด็กในการอ่านภาพจากหนังสือนิทานเรื่อง “แม่ไก่ไปเดินเล่น” และสรุปเป็นขั้นตอนในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาภาพโดยการใช้คำถามและการเสริมประสบการณ์พื้นฐาน นอกจากนี้ยังนำเสนอแนวทางการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้ภาษาภาพในระดับที่สูงขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจเห็นความสำคัญในการส่งเสริมความสามารถทางการอ่านภาพในระดับปฐมวัย และนำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ในการพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาพของเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชนต่อการอ่านเขียนต่อไปในอนาคต AbstractThe purpose of this article is to suggest a visual literacy learning approach for earlychildhood. Based on analyzing the related article and research, the paper presents the definitionof visual literacy, the levels of visual literacy, the early childhood visual literacy skills, and theimportance role of picture in children’s reading text. Moreover, by examining the child’s responseto picture when reading picture book “Rosie’s Walk”, the paper illustrates the process to supportearly childhood learning visual literacy - using guided question and providing the necessarybackground knowledge. Finally, this paper suggests a set of questions to enhance the higherlevel of visual literacy skills for early childhood. The article highlights the importance of supportingvisual literacy learning in early childhood and its applied to improve literacy learningin the future.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พิทธยาพิทักษ์ ธ. (2017). การอ่านภาพจากหนังสือนิทานเรื่อง “แม่ไก่ไปเดินเล่น”: แนวทางการเรียนรู้ภาษาภาพสำหรับเด็กปฐมวัย. บรรณศาสตร์ มศว, 9(2), 98–113. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/8397
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)