การรู้สารสนเทศสุขภาพของนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

อรทัย วารีสอาด
นุชรี ตรีโลจน์วงศ์
สมชาย วรัญญานุไกร

Abstract

บทคัดย่อ บทความนี้เรียบเรียงจากงานวิจัยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้สารสนเทศสุขภาพของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นิสิตเพศหญิงส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง มีโรคประจำตัวหรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง และเคยป่วยหรือเคยใช้บริการที่โรงพยาบาลฯ ใน ขณะที่นิสิตเพศชายส่วนใหญ่พักอยู่กับเพื่อน ไม่มีโรคประจำตัวหรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง และไม่เคยป่วยหรือไม่เคยใช้บริการที่โรงพยาบาลฯ  นอกจากนี้ยังพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีสภาพการรู้สารสนเทศสุขภาพ ดังนี้ 1) มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศสุขภาพในระดับมากที่สุดจากเฟซบุ๊ค  2) เห็นด้วยอย่างยิ่งว่า อาหารมื้อเช้าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุด  3) มีความสามารถในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนสารสนเทศสุขภาพในระดับมาก  4) ประเมินสารสนเทศสุขภาพโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของสารสนเทศสุขภาพเป็นอันดับแรก  5) ดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนอยู่บ่อยครั้งในเรื่อง การรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย  6) เห็นด้วยว่า สารสนเทศสุขภาพจากสื่อมวลชนมีความน่าเชื่อถือ Abstract This research paper aimed to study health information literacy of undergraduate students in Faculty of Humanities, Srinakharinwirot University.  A sample group of 143 Information Studies students was drawn from the first-year to fourth-year students. The research tool used was the questionnaire. Statistics used for data analysis was percentages. The results showed that most female stayed with relatives, including had underlying chronic illnesses or conditions and ever been sick or gone to the hospital. While the majority of male stayed with friends, including had not being chronic illnesses or conditions and never been sick or gone to the hospital. Besides, health information literacy of students could be summarized as follow: 1) Most mainly accessed health information sources through Facebook.  2) Most strongly agreed with the statement that “Breakfast is the most important meal”.  3) Most were able to understand knowledge about health at high level.  4) The evaluation of health information. The majority considered the reliability of health information at first.  5) The majority frequently considered in eating a variety.  6) Most students agreed that health information from the media was reliable.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วารีสอาด อ., ตรีโลจน์วงศ์ น., & วรัญญานุไกร ส. (2014). การรู้สารสนเทศสุขภาพของนิสิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บรรณศาสตร์ มศว, 7(1), 15–23. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/4416
Section
Research Articles