ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในวิชาพลศึกษาที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย และการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบการคิดเชิงออกแบบก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาแบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้การคิดเชิงออกแบบที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 28 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 18 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน พบว่า มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 21.70 กก./ตร.ม. การทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า ดันพื้นประยุกต์ (30 วินาที) ลุกนั่ง (60 วินาที) ยืนยกเข่าขึ้นลง (3 นาที) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกรายการ การคิดเชิงออกแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ระยะสังเคราะห์ออกแบบ ระยะสร้างประสบการณ์ และระยะวิเคราะห์ถอดแบบ (2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) นั่งงอตัวไปข้างหน้า และดันพื้นประยุกต์ (30 วินาที) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญการทดสอบลุกนั่ง (60 วินาที) และยืนยกเข่าขึ้นลง (3 นาที) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของทักษะการคิดเชิงออกแบบก่อนและหลังเรียน พบว่า ระยะสร้างประสบการณ์ ระยะวิเคราะห์ถอดแบบ และระยะสังเคราะห์ออกแบบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผลDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ