การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีชีวิตถัดไปสำหรับหน่วยงานในระดับอุดมศึกษา

Authors

  • Sawarin Nilauthai

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัย และความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไป สำหรับหน่วยงานในระดับอุดมศึกษา และ 2) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัย ที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับจัดทำแนวทางพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แลtครอบคลุมตามความต้องการของผู้ปฏิบัติ ศึกษาโดยการสำรวจ (Survey) บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายปฏิบัติการจากคณะแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling method) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอย (Multiple regression analysis) ผลการวิเคราะห์สภาพการบริหารจัดการงานวิจัยในยุควิถีถัดไปตามวงจร PDCA พบว่า การบริการจัดการงานวิจัยอยู่ในระดับชัดเจนมาก โดยขั้นตอนที่มีความชัดเจนมากที่สุด คือ (P: Plan)การกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน เป้าหมายของการบริหารจัดการงานวิจัย และ (A: Act) การปรับปรุงแก้ไข คือขั้นตอนที่มีความชัดเจนน้อยที่สุด ทั้งนี้ ความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย (Pre-audit) 2) การดำเนินการวิจัย (Ongoing) 3) การบริหารงานวิจัยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ (Post-audit) ทุกขั้นตอนมีความต้องการในระดับมาก โดยความต้องการพัฒนาระบบในขั้นของ Post-audit มากที่สุด  ปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ในการวิจัย สภาพการบริหารจัดการงานวิจัยที่มีผลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการ ได้แก่ ระดับการศึกษาและสถานภาพการทำงาน นอกจากนี้ การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย