ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นยุคใหม่
Abstract
ในปัจจุบันพบว่าผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้นำท้องถิ่น มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น ผู้บริหารที่ดีควรมีคุณลักษณะที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะการสื่อสาร ซึ่งการมีความรู้และมีทัศนะคติที่ดีของผู้บริหาร มีอิทธิพลอย่างมากต่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพในวงกว้างแต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำท้องถิ่นบางส่วนยังมีองค์ความรู้ไม่เพียงพอในการบริหารงาน โดยเฉพาะองค์ความรู้ยุคใหม่ ส่งผลให้ทัศนคติบางประการของผู้นำไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทักษะการสื่อสารเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลให้ผู้นำท้องถิ่น สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทักษะการสื่อสารที่ดีประกอบด้วย 1) การฟังที่ดี 2) การอ่านที่ดี 3) การเขียนที่ดี และ 4) การพูดที่ดี ดังนั้น บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของความรู้และทัศนคติของผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงตำแหน่งดังกล่าว อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำและผู้บริหารให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของพื้นที่ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่งคงยั่งยืนDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ