การพัฒนาสมรรถนะครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยรูปแบบ SIPA Model ของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตชุมแพม่านชมพู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมสำหรับการอบรมพัฒนาและส่งเสริมครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ SIPA Model และพัฒนาความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) (2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) (3) เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการสอนของครูที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาที่มีต่อรูปแบบ SIPA Model เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบ การใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสะท้อนผลของครูกลุ่มเป้าหมาย การศึกษาเอกสารการบันทึกภาคสนาม การบันทึกวิดีโอและการบันทึกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol analysis) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์สถิติและรายงานผลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความถี่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ SIPA Model โดย พบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (x̄= 3.10, S.D. = 0.50) และคะแนนหลังการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (x̄ = 4.17, S.D. = 0.47) ที่ได้จากการใช้แบบสอบถามชนิดลิเคอร์ท สเกลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยใช้การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (Wilcoxon signed rank test) ซึ่งมีค่า Z = -2.22 (p = 0.026) แสดงว่าครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบ SIPA Model จากการได้ลงมือปฏิบัติในทุกขั้นตอนของกิจกรรม และตระหนักว่ารูปแบบ SIPA Model เป็นรูปแบบเทคนิคการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาและแก้ปัญหาในชั้นเรียนโดยการมีส่วนร่วม 2) กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถของครูในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียนซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นแผนที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนในเชิงลึก การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เป็นไปเพื่อการสร้างที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูเปลี่ยนบทบาทของตัวเองจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการประสานงาน เพื่อแนะนำและกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการสอนของครูที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) โดยใช้กระบวนการศึกษาบทเรียน (LS) ผ่านนวัตกรรม SIPA Model โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน (x̄= 9.35, S.D. = 3.57) สูงขึ้นกว่าคะแนนก่อนเรียน (x̄= 5.20, S.D. = 2.35) 4) ความพึงพอใจของครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีต่อความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.94 และจัดอยู่ในระดับสูงสุดDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ