การพัฒนาหลักสูตรอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ เรื่อง เคมีกับพลังงานทดแทน และการศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการอบรมด้วยระบบออนไลน์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรอบรมครูด้วยระบบออนไลน์สำหรับพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเรื่องโครงสร้าง สมบัติ และปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอินทรีย์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักสูตร ความพึงพอใจต่อหลักสูตร ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และการคาดหวังต่อผลลัพธ์ โดยหลักสูตรอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นคือ เคมีกับพลังงานทดแทน ซึ่งนอกจากจะพัฒนาความรู้เนื้อหาวิชาเคมีแล้วยังมีกิจกรรมท้าทายที่ให้ครูได้ประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมไปแก้ปัญหาในชีวิตจริง หลักสูตรมีการบูรณาการทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลา มีวีดิทัศน์ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนและการประเมิน มีการใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ เครื่องมือในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแบบตรวจสอบรายการหรือเช็คลิสต์สำหรับผู้ตรวจสอบคุณภาพและผู้รับรองคุณภาพเพื่อพิจารณาว่าวีดิทัศน์อบรมครูแต่ละตอนรวมทั้งสื่อประกอบมีความถูกต้องเหมาะสมสำหรับการอบรมด้วยระบบอนไลน์หรือไม่ ทั้งนี้ จะต้องผ่านเกณฑ์ในทุกรายการที่ประเมินจึงจะนำไปอบรมครูได้ ส่วนที่สองเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของครูในด้านของความเหมาะสมของหลักสูตร ความพึงพอใจต่อหลักสูตร ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและการคาดหวังต่อผลลัพธ์ โดยกลุ่มตัวอย่างในส่วนนี้ได้แก่ครูที่ผ่านการอบรมและร่วมตอบแบบสอบถาม สำหรับข้อมูลที่ได้มีการนำไปวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยและทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม (t-test) จากการศึกษาพบว่าวีดิทัศน์อบรมครูทุกตอนรวมทั้งสื่อประกอบผ่านการเกณฑ์การประเมินจากผู้ตรวจสอบคุณภาพและผู้รับรองคุณภาพ และจากการวิเคราะห์แบบสอบถามของครู 716 คน (ร้อยละ 44.69) ของครูที่เข้ารับการอบรม พบว่าภาพรวมด้านความเหมาะสมของหลักสูตร ความพึงพอใจต่อหลักสูตร ความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และการคาดหวังต่อผลลัพธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (p-value < 0.01) ในทุกด้าน แสดงว่าหลักสูตรมีความถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการอบรมด้วยระบบออนไลน์ ครูที่เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้จากการอบรมไปถ่ายทอดสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ