ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม ต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 142 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนจำนวน 16 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยโดยมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 12 ครั้ง โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) คะแนนเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม (Howell, 1999) และ 4) ทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีทดสอบรายคู่ ผลการวิจัย พบว่าเฉลี่ยคะแนนแบบวัดการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนกลุ่มควบคุมในระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล มีค่า 3.34, 3.77 และ 3.80 ตามลำดับ โดยสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบวัดการตัดสินใจเลือกอาชีพ ในระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล เป็น 2.24, 2.59 และ 2.77 ตามลำดับ โดยมีปฏิสัมพันธ์ของคะแนนนักเรียนที่ทำแบบวัดการตัดสินใจเลือกอาชีพจากการได้รับคำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากคะแนนเฉลี่ยของระยะก่อนทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตาม ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 (p < .05)Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการพิจารณาบทความดังกล่าว
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ