บทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพยุคประเทศไทย 4.0 เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศภายใต้สถานการณ์วิถีถัดไปในประเทศไทย
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพยุคประเทศไทย 4.0 เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศภายใต้สถานการณ์วิถีถัดไปในประเทศไทย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่เป็นเลิศในประเทศไทย 76 แห่ง จำนวน 76 คน จากการเลือกผู้บริหารแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและแบบลูกโซ่ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างแบบเปิด และการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสารัตถภาพและสัมพันธภาพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นการเก็บข้อมูลและกำหนดบทบาท 3) ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์บทบาทที่เกี่ยวข้อง และ 4) ขั้นการตรวจสอบและยืนยันบทบาทที่เหมาะสมโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพยุคประเทศไทย 4.0 เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศภายใต้สถานการณ์วิถีถัดไปในประเทศไทยมีประเด็นที่ควรพิจารณา 4 ประเด็น ได้แก่ (1) บทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (2) บทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพยุคประเทศไทย 4.0 (3) บทบาทผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษามืออาชีพยุคประเทศไทย 4.0 ภายใต้สถานการณ์วิถีถัดไปในประเทศไทย และ (4) แนวโน้มการจัดการอาชีวศึกษา 4.0 ของประเทศไทย ผลการวิจัยสามารถนำมาใช้กำหนดเป็นนโยบายสำหรับการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารให้สามารถบริหารจัดการการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์วิถีถัดไปในประเทศไทยต่อไปDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ