การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้การสร้างภาพข้อมูล (Data Visualization) ของเฟซบุ๊กแฟนเพจในประเทศไทย
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประเภทของรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) ที่ใช้ในการสื่อความหมายบนเพจเฟซบุ๊กของไทย 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของลักษณะข้อมูลกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) 3) เพื่อศึกษาความครบถ้วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ที่ปรากฏในการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) ของเพจเฟซบุ๊กประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ เฟซบุ๊กแฟนเพจในประเทศไทยที่มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้วยการสร้างข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) จำนวน 15 เพจ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) คัดเลือกจากสถิติเฟซบุ๊กแฟนเพจยอดนิยมของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 โดยศึกษาเพจละ 100 ภาพข้อมูล รวมเป็น 1,500 ภาพข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านรูปแบบการสื่อความหมายโดยใช้การสร้างภาพข้อมูล (Data Visualization) พบว่า รูปแบบการสร้างภาพข้อมูลที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) ร้อยละ 31.5 แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ร้อยละ 18.5 และ แผนภูมิเส้น (Line Chart) ร้อยละ 12.4 2) ด้านความเหมาะสมของลักษณะข้อมูลกับรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) พบว่ามีข้อมูลเชิงภาพที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เหมาะสมจำนวน 25 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 1.7 พบว่า รูปแบบการสร้างภาพข้อมูลที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) ร้อยละ 40 แผนภูมิแท่งแบบวางซ้อน (Stacked Bar Chart) ร้อยละ 28 และ แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ร้อยละ 12 3) ด้านความครบถ้วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) พบว่ามีข้อมูลเชิงภาพที่มีความครบถ้วนขององค์ประกอบ จำนวน 357 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 24.2 และข้อมูลเชิงภาพที่ไม่มีความครบถ้วนขององค์ประกอบ จำนวน 1,118 ภาพ คิดเป็นร้อยละ 74.8 และ 4) ด้านความสัมพันธ์ที่ปรากฏในการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) โดยประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเพจและรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเพจ และความครบถ้วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ และ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเพจ รูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ และความครบถ้วนขององค์ประกอบที่ใช้ในการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization)คำสำคัญ: ข้อมูลเชิงภาพ Abstract The purposes of this research were 1) to explore the types of Data Visualization that are being used on Facebook posts 2) to analyze the suitability of the types of Data Visualization that are being used on Facebook posts 3) to analyze the completeness of the components used in each Data Visualization and 4) to explore the relationship that appears between pages, types, and completeness of Data Visualization. The sample group in this research consisted of Facebook fan pages in Thailand that posted their contents using Data Visualization. The sample group was selected using a purposive sampling method from the statistics of Facebook pages in Thailand during the year 2020 from the website Socialbaker.com. This research studied 15 Facebook fan pages with 100 Data Visualizations per page (1,500 Data Visualizations in total). The research findings showed that 1) the top three types of Data Visualization that were found being used the most on Facebook posts are bar charts (31.5%), pie charts (18.5%), and line charts (12.4%), 2) the suitability of the types of Data Visualization are as follows; bar chart (40%), stacked bar chart (28%), and pie chart (12%) are the least suitable types of Data Visualization, 3) the completeness of the components used in each Data Visualization are as follows; 357 (24.2%) Data Visualizations have completeness of the components and 1,118 (74.8%) Data Visualizations do not have completeness of the components, and 4) the relationship that appears between pages, types, and completeness of Data Visualization. We were exploring specifically the relationship between types of pages and types of Data Visualization, the relationship between types of pages and the completeness of the components used in each Data Visualization, and the relationship between types of pages, types of Data Visualization and the completeness of the components used in each Data Visualization. Keyword: Data VisualizationDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ