ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาการงานอาชีพ เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาการงานอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชาย – หญิง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 24 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวม 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาการงานอาชีพ จำนวน 16 แผน และแบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t –test แบบ dependent เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือก่อนและหลังทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ยในด้านการช่วยเหลือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเป็นผู้นำ และด้านความร่วมมือที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมความร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีพัฒนาการรายด้านของพฤติกรรมความร่วมมือดีขึ้น หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นักเรียนได้รับอิสระทางความคิด ความต้องการในการเลือกในสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ บรรยากาศสนุกสนาน มีความสุข เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปัน ร่วมมือ รับผิดชอบ ปลูกฝังภาวะผู้นำ ทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมทางสังคมด้านความร่วมมือที่ดีโดยไม่มีการบังคับคำสำคัญ: นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พฤติกรรมความร่วมมือ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน วิชาการงานอาชีพ Abstract The aim of this research was to study cooperative behavior of Prathom 1 students before and after using project-based learning in the subject of Home Economics. The subjects of this study were 24 male and female students studying in Prathom 1 during the second semester of the 2019 academic year at Onhgkharak Demonstration School. The subjects were selected by simple random sampling. The data were collected over the duration of 10 weeks. The tools used in this research were 16 project-based learning lesson plans in the subject of Home Economics and the cooperative behavior observation form. The data were collected and analyzed by the dependent t-test. The cooperative behavior was compared before and after the experiment. The result showed that Prathom 1 students who were taught by project-based learning in the subject of Home Economics had higher average scores after the experiment in terms of assistance, responsibility, leadership and cooperation, which was statistically significant at .01. It was found that the development of cooperative behavior was improved. After the experiment using project-based learning, the students had more freedom in terms of thinking and choosing the topic that they were interested in learning. The learning atmosphere was fun, helpful, sharing, cooperative, and responsible. Their leadership was cultivated. The students had better cooperative behavior without being forced. Keywords: Prathom 1 students, Cooperative behavior, Project-based learning , Academic CareerDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ