ความเป็นครูในตัวพ่อแม่ : บทบาทที่ต้องเลี้ยงดูลูกในวันหยุดยาว
Abstract
บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทความเป็นครูของพ่อและแม่ในการสอนลูกท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) โดยการวิเคราะห์ตำรา งานวิจัย บทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า สถาบันครอบครัวถือเป็นกลุ่มทางสังคมกลุ่มแรกที่มีพ่อและแม่คอยทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป พ่อและแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอนบ้านมากขึ้น สถาบันการศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนลูกแทนพ่อแม่ อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 พ่อแม่หลายคนต้องหยุดงานเป็นระยะเวลายาว โรงเรียนจำนวนมากปิดเรียนแบบไม่มีกำหนดเปิด ทำให้พ่อ แม่ และลูก มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันยาวนานมากขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้พ่อและแม่มีบทบาทในการอบรมสั่งสอนลูกมากขึ้น เพื่อให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีพัฒนาการที่สมวัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นสังคมได้อย่างปกติสุข คำสำคัญ: ความเป็นครู ครอบครัว บทบาท Abstract This article aims to analyze the parents' role during the Coronavirus pandemic (COVID-19) by reviewing textbooks, research articles and documents. It was found that in the past, the family was the first social group, where the primary avenue of socialization was between family members. When the social dynamic changed, it became necessary for parents to work outside of the home. Educational institutions now have an important role in raising and teaching children rather than parents. However, in adverse events such as the COVID-19 epidemic, many parents have been unable to work for a long time. Many schools were shut down indefinitely, giving parents and children more time to spend together. As a result, parents have taken more roles in educating their children so that they can grow up with proper development and live happily with others in society. Keywords: Teacherhood, Family, RoleDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ