การพัฒนาหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาความมีวินัยของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระยะก่อนและหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมความมีวินัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านหนองกร่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเสริมความมีวินัย คือ หนังสือนิทานคุณธรรม จำนวน 15 เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม ก่อนการพัฒนาความมีวินัย และหลังการสร้างเสริมความมีวินัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅) ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีประสิทธิภาพร้อยละ 86.44/86.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) พัฒนาการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อสร้างเสริมความมีวินัย มีร้อยละของพัฒนาสูงขึ้น เท่ากับ 27.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 25.00คำสำคัญ: เด็กปฐมวัย หนังสือนิทานคุณธรรม ความมีวินัย การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทาน Abstract The purposes of this research were to: (1) develop moral story books and determine their effectiveness in improving the self-discipline of preschool children in the 3rd kindergarten level, in which the criteria was set at 80/80; (2) study moral behavior in order to improve the self-discipline of preschool children in the 3rd kindergarten level by comparing their moral behavior before and after engaging in the learning experiences using the moral story books to improve self-discipline. The sample group consisted of 40 preschool children in the 3rd kindergarten level during the 1st semester of the 2018 academic year. The members of the sample group were students at Baan Nhong Krang School, Primary Educational Service Area (PESA) 4, Kanchanaburi Province. The tools used in the research were 15 moral story books, an experience management plan, and an observation form for comparing the moral behavior of the subjects before and after improving their self-discipline. The data was analyzed and presented in percentages and means. The research found that (1) the efficiency of moral story books to improve self-discipline of preschool children in the 3rd kindergarten level was 86.44/86.11 which was higher than the criteria; and (2) the developmental progress of preschool children in the 3rd kindergarten level after engaging in the learning experiences using the moral story books to improve self-discipline was improved by 27.28%, which was higher than the criteria which was set at 25%. Keywords: Preschool Children, Moral Story Book, Discipline, Organizing Learning Experiences by Moral Story BookDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ