การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก

Authors

  • ศศิพิมพ์ พุ่มพิมล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 2) เปรียบเทียบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน และ 3) เปรียบเทียบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกในกลุ่มสาระการเรียนรู้แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 759 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพแวดล้อมเชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนระดับประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Two-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก มีค่าเท่ากับ 3.44 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 2) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนประถมศึกษาของโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยในโรงเรียนขนาดเล็กมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนสูงกว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมไม่แตกต่างกัน 3) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างขนาดโรงเรียน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมในห้องเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ในห้องเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาต่างประเทศ มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงในห้องเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ในห้องเรียนของโรงเรียนขนาดกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และภาษาไทย มีระดับค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณิตศาสตร์ และสุขศึกษาและพลศึกษา มีระดับค่าเฉลี่ยระดับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคมอยู่ในระดับสูงในห้องเรียนของโรงเรียนขนาดใหญ่คำสำคัญ: สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาสังคม  ห้องเรียนระดับประถมศึกษา Abstract This research aims to 1) study the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area schools; 2) compare the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area schools with different school sizes; and 3) compare the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area schools among different learning areas. The sample used in this research was 759 grade-six students of elementary schools in the Nakhon Nayok primary educational service area who were enrolled in the second semester of the 2018 academic year. The subjects were chosen by stratified random sampling.  The research tool used in this study was the ‘What Is Happening in This Class’ (WIHITC) questionnaire. Statistics used for data analysis were descriptive analysis, standard deviation, and Two-way ANOVA. The results yielded that 1) the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area schools had a mean score of 3.44, which was at a medium level; 2) the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area schools with different school sizes differed with statistical significance at .05. Additionally, the findings showed that the classrooms of small-sized schools had a higher psychosocial learning environment than medium-sized and large-sized schools with statistical significance at .05, but there was no difference in the psychosocial learning environment between medium-sized and large-sized schools; 3) the psychosocial learning environment in elementary classrooms of the Nakhon Nayok primary educational service area among different learning areas was different with statistical significance at .05, and 4) the results found interaction between school sizes and learning area. While the psychosocial learning environment in health and physical education, social studies, and foreign language classrooms were high in small-sized schools, in medium-sized classrooms the psychosocial learning environment was high in foreign languages, mathematics, social studies, and Thai language classrooms. Additionally, in the learning areas of foreign language, social studies, mathematics, and health and physical education there was a psychosocial learning environment at a high level only in classrooms of large-sized schools. Keywords: Psychosocial Learning Environment, Elementary Classrooms

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-05-29

Issue

Section

บทความวิจัย