การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • ชมพูนุช วุ่นสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการหาค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples)ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ 81.31/85.55 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : แบบฝึกทักษะ  การคิดวิเคราะห์  ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ  สังคมศึกษาAbstractThe purposes of this study were to develop analytical thinking skill exercises in Social Studies for grade 6 students which needed to comply with the standard criteria of 80/80; and to compare the analytical thinking ability of grade 6 students before and after using the analytical thinking exercises. The target group consisted of 37 students in grade 6 at Ongkharak Demonstration School during the first semester of the 2016 academic year. The tools used in this research were: 1) analytical thinking skill exercises; 2) analytical thinking ability evaluation form. The data were analyzed by using a statistical packages program for calculating the mean (x̅) standard deviation (S.D) and the t-test for dependent samples. The results of the research were as follows: 1) The efficiency of the analytical thinking skill exercises in social studies for grade 6 students was 81.31/85.55. Therefore, the analytical thinking skill exercises developed by the researcher are effective and complied with the standard criteria at 80/80.  2) After the class, students who studied with the analytical thinking skill exercises in social studies for grade 6 students had higher analytical ability with statistical significance at .01. Keywords: Skill exercises, Analytical thinking, The efficiency of skill exercises, Social Studies

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-05-29

Issue

Section

บทความวิจัย