รูปแบบการพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้บนฐานการวิจัย โรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาครูของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ ด้านการออกแบบการเรียนรู้บนฐานการวิจัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 69 คน ดำเนินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในปีการศึกษา 2561 ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า รูปแบบการพัฒนาครูตามบริบทของโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์ เริ่มต้นจาก การกำหนดนโยบายของโรงเรียน กิจกรรมการพัฒนาครูด้วยการหนุนนำต่อเนื่องที่เหมาะสมกับโรงเรียน คือ การให้การหนุนนำต่อเนื่องแบบเพื่อนชี้แนะ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการหนุนนำ (Pre-coaching) เริ่มจากการสร้างความรู้ความเข้าใจของครู เกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้บนฐานการวิจัย และ การสร้างทีมหนุนนำต่อเนื่องที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และทำความเข้าใจแนวคิดและหลักการหนุนนำแบบเพื่อนชี้แนะ 2) ขั้นดำเนินการหนุนนำต่อเนื่องแบบเพื่อนชี้แนะ (Coaching) เป็นขั้นการสังเกตการจัดการเรียนรู้แบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อทำความเข้าใจบริบทของการจัดการเรียนรู้และการสะท้อนผลเรียนรู้หลังการสอนทันทีโดยใช้การหนุนนำต่อเนื่องแบบเพื่อนชี้แนะ 3) ขั้นหลังการหนุนนำต่อเนื่อง (Post-coaching) เป็นการกำกับติดตาม และศึกษาผลที่เกิดจากการหนุนนำแบบเพื่อนชี้แนะ พบว่า มีปรากฏการณ์ที่ครูเกิดการรวมกลุ่มสนทนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ทำให้เกิดเป็นกระบวนการของชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการหนุนนำต่อเนื่องมีความยั่งยืน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนคำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนาครู การจัดการเรียนรู้บนฐานการวิจัยAbstract The purpose of this study aimed to develop Ongkharak Demonstration School (ODS) teachers’ development model with the research-based learning (RBL) design. The 69 ODS teachers were the target group. The research was conducted throughout the duration of the 2018 academic year. The preliminary results found that the ODS teacher development model was developed based upon the school policies. The peer coaching model was suitable for ODS context. The three stages of the teacher development coaching model were 1) pre-coaching stages: providing the teachers with school-based training on RBL design and creating peer coaching teams in the ODS context; 2) coaching stage: implementing non-participatory observation with reflection after every observed class; and 3) post-coaching stage: monitoring and following up by the research team. The results yielded that the teachers shared their ideas about the class with the purpose of the learner’s development. This led to a Professional Learning Community (PLC) which will drive forward the coaching model in the school. Keywords: Teacher’s coaching model, Research-based learningDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ