การใช้เกมทายบัตร (Card Games) เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Abstract
บทคัดย่อ การใช้เกมทายบัตร (Card Games) เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อพัฒนาเกมให้เป็นส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 และ 3/8 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสิริรัตนาธร จำนวน 65 คน ได้ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที โดยห้องละ 1 คาบต่อสัปดาห์ รวมทั้งหมด 6 คาบ หรือ 5 ชั่วโมง (300 นาที) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลคือ เกมทายบัตร (Card Games) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน เกณฑ์ประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ แบบประเมินตนเองด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมทายบัตร (Card Games) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม Microsoft Office Excel ในการช่วยประมวลผล และนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาผลลัพธ์ สรุปผลและอภิปรายผลผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิริรัตนาธรทั้ง 2 ห้อง ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งเรื่องความเข้าใจและความคล่องแคล่วในการพูดภาษาอังกฤษ ดูได้จากการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรม โดยในการทดสอบก่อนการเล่นเกมทายบัตร (Card Games) ผลคะแนนโดยรวมของนักเรียนทั้งสองห้องในด้านความเข้าใจในการพูดภาษาอังกฤษมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นทั้งหมดร้อยละ 14 ดูจากการทดสอบก่อนทำกิจกรรม (Pre-test) ที่มีคะแนนเฉลี่ย 2.11 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 จากนั้นมีการเพิ่มขึ้นโดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.80 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 ในการทดสอบหลังทำกิจกรรม (Post-test) และในด้านความคล่องแคล่วในการพูดภาษาอังกฤษ มีการเพิ่มขึ้นทั้งหมดร้อยละ 15 ดูได้จากคะแนนก่อนการทำกิจกรรมที่มีคะแนนเฉลี่ย 1.71 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.70 ในภายหลังคะแนนหลังทำกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 2.45 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ 0.56 และนักเรียนมีความคิดเห็นว่าเกมทายบัตร (Card Games) ช่วยทำให้ตนเองมีการพูดภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ดูได้จากการที่นักเรียนได้ทำแบบประเมินตนเองหลังจากได้เล่นเกมทายบัตร (Card Games) พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่คิดว่ามีความสามารถในด้านการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่มากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.69 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.85 ในเรื่องของความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อเกมทายบัตร (Card Games) พบว่า เรื่องความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบเกมทายบัตร (Card Games) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่พึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.04 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเล่นเกมอยู่ในระดับที่พึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.03 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.75 และสุดท้ายเรื่องของความพึงพอใจที่มีต่อการนำเกมมาใช้ในการทำกิจกรรม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่พึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.32 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมอยู่ที่ 0.72 ส่วนข้อสรุปจากความคิดเห็นเพิ่มเติมในเรื่องของความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบเกมทายบัตร (Card Games) รูปแบบการเล่นเกม และการนำเกมมาใช้ในการทำกิจกรรม พบว่า มีทั้งข้อเสนอแนะในมุมที่ดีและมุมที่ควรปรับปรุง แสดงให้เห็นว่าเกมทายบัตร (Card Games) มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษได้จริง และเกมทายบัตร (Card Games) ยังช่วยเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้ดีขึ้นได้จริง เกมทายบัตร (Card Games) จะทำให้นักเรียนได้ใช้ทักษะต่างๆในการนำเอามาใช้พูดภาษาอังกฤษคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความคุ้นชิน จดจำ ฝึกฝน โต้ตอบ และนำไปใช้จริง นอกจากนี้ยังได้รับความสนุกสนานในการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ลดความตึงเครียดในการพูดภาษาอังกฤษลง และเกิดความสนใจและอยากที่จะพูดภาษาอังกฤษมากขึ้นด้วยคำสำคัญ: เกม การ์ดเกม ทักษะการพูด ภาษาอังกฤษAbstract The focus of this research was the application of card games to enhance the English-speaking skills of Grade-9 students and the development of games as a means to promote English-speaking skill. The target group of the research consisted of 65 students from grade 9/7 and 9/8 classrooms during the 2019 academic year at Sirirattanathorn school. The research was implemented over the course of 3 weeks, consisting of 1 period of 50 minutes per week and per classroom, totaling 6 periods or 5 hours (300 minutes). The research tools used in conducting the experiment and collecting data included card games, speaking tests, speaking test criteria, speaking skill self-evaluation, and a satisfaction survey on the card games. The statistics used for analyzing the data were means, average, percentage and standard deviation. Microsoft Office Excel was used for processing data which were compared to yield the results, summarize, and discuss the outcomes. The results yielded that the speaking abilities of grade 9 students from both classrooms at Sirirattanathorn school improved in terms of understanding and fluency as shown in the pretest and posttest scores. The scores were higher by 14 percent for their understanding. The pretest scores shown mean score at 2.11 and standard deviation at 0.79. After the application, the posttest scores were higher with the mean score at 2.80 and standard deviation at 0.69. The scores of speaking fluencies were higher by 15 percent. Their pretest scores showed the mean score at 1.71 and standard deviation at 0.70. The posttest scores were higher with the mean score at 2.45 and standard deviation at 0.56. The students think that the card games help them to speak English better. According to the speaking skill self-evaluation, most of the students think that their speaking skill is at a high level with the mean score at 3.69 and standard deviation at 0.85. In terms of satisfaction towards the card games, it is found that their satisfaction is at a very high level with the mean score of 4.04 and standard deviation at 0.74. Their satisfaction towards the patterns of the games is at a very high level with the mean score at 4.03 and standard deviation at 0.75. Their satisfaction towards the application of the games is at a very high level with the mean score at 4.32 and standard deviation at 0.72. The students provided positive feedback on the pattern and the application of the card games with some areas for improvement. Therefore, the card games can actually enhance students’ speaking skills, particularly those of the grade 9 students. The card games encourage students to apply various skills to speak English, including self-learning. The students will become familiar with, be able to memorize, practice, converse using, and apply them in their real-life situations. Moreover, they also enjoy doing the activity with their classmates. The application of the card games can reduce the stress of speaking English. The students are more interested and enjoy speaking English. Keywords: Games, Card Games, Speaking Skill, EnglishDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ