การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุแบบติดสังคม และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนรวม 390 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้การแนะนำจากกลุ่มผู้สูงวัยด้วยกันเอง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ระหว่าง 3.41 – 4.20) โดยพบว่า องค์ประกอบในด้านของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ นั้นเป็นองค์ประกอบที่กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมฯ มากที่สุดเมื่อเทียบกับองค์ประกอบในด้านอื่นๆ (คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการพิจารณาเป็นรายประเด็นจะพบว่า ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีการประเมินระดับความสามารถตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 3.40) จำนวน 7 ประเด็นซึ่งประกอบด้วย ประเด็นความสามารถในเรื่องของความสามารถของลูกหลานในการดูแลค่าใช้จ่ายให้กับการรักษาพยาบาล (2.92) การมีพฤติกรรมในเรื่องของค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (2.95) ความสามารถในการรู้จักนำเงินไปลงทุนสินทรัพย์รูปแบบอื่นๆ (3.04) การมีพฤติกรรมที่ชอบใช้จ่ายเงินไปกับการท่องเที่ยว (3.09) ความสามารถในการเข้าร่วมทำกิจกรรมด้านสุขภาพกับผู้ให้บริการสุขภาพ (3.21) การมีพฤติกรรมที่ใส่ใจในเรื่องการออมและรู้สึกเสียดายเงินที่จ่ายๆไปกับเรื่องที่ไม่ใช่ปัจจัย 4 (3.26) และการมีพฤติกรรมที่ชอบจ่ายเงินไปกับงานการกุศล หรือการทำจิตอาสา (3.28) อีกทั้งยังพบว่า ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้สูงวัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างในการแสดงออกถึงคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพทั้งในภาพรวมของการเป็น Active Aging และในแต่ละองค์ประกอบรายด้านนั้น กลุ่มผู้สูงวัยที่มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพแตกต่างจากกลุ่มอื่นทุกกลุ่มที่เหลือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอาชีพปัจจุบันนั้นมีผลอย่างมากต่อค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพโดยเฉพาะในองค์ประกอบด้านการเสริมสร้างการเป็นผู้มีสุขภาพดี โดยพบว่า อาชีพข้าราชการเกษียณนั้นเป็นอาชีพที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าอาชีพอื่น และมีความแตกต่างจากกลุ่มผู้สูงวัยกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจการเกษตร อาชีพพนักงานเอกชน และค้าขาย/รับจ้างทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น แนวทางการเสริมสร้างการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพควรให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องของการสร้างความมั่นคงทางด้านรายได้มากขึ้น เช่น การให้ความสำคัญกับเรื่องของการจัดการทางการเงิน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของเงินออมที่มีอยู่ อย่างไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงต่ำเพื่อให้ผู้สูงวัยมีอิสระในการใช้จ่ายเงินเพื่อตอบสนองความสุขของตนเอง และเพื่อใช้ในการดูแลรักษาตนเองได้อย่างเหมาะสม คำสำคัญ: คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเป็นผู้สูงวัยที่มีศักยภาพAbstractThe purpose of this research was to study active aging characteristics. The sample subjects in this quantitative research were 390 persons from the elderly community found using the snowball technique. The results of this research found that the elderly had a high total level of active aging characteristics. Participation in activities is the most common characteristic of active aging. Considering each aspect of active aging characteristics ordered from the least to average to display the prioritized topics for promoting the active aging characteristics, it was found that the subjects were not financially ready to support medical treatment (2.92); extravagant with money (2.95), lacked knowledge of financial investment (3.04), paid more for travelling (3.09) and charity (3.28), and neglected saving (3.26). The research also revealed that the monthly average income of the subjects had a significantly positive relationship with active aging characteristics, with levels at 0.05. This was especially evident in the elderly who had a monthly average income of over 30,000 baht. This meant that they were more ready to engage in the characteristics of active aging than those with less income. In addition, this research showed that the elderly who were retired government officials had a significantly positive relationship with the active aging characteristics in relation to health, with levels at 0.05. From the above results, the main tactic for promoting active aging characteristics should be to create personal financial stability such as financial education (planning / saving / investing) so that they can financially support their medical care.Keywords: active aging characteristicsDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ