การศึกษาประสิทธิผลของโครงการอาหารกลางวัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบองค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย คนครัว จำนวน 8 คน นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 450 คน บุคลากร สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา จำนวน 92 คน และผู้ปกครอง จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ถึงเดือน เมษายน 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การศึกษาประสิทธิผลของโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ จังหวัดนครนายก ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับมาก 2) ด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติ ร้อยละ 78.57 และ 3) ด้านผลผลิต (Output) อยู่ในระดับพอใจมาก คำสำคัญ: ประสิทธิผล โครงการอาหารกลางวัน ความพึงพอใจAbstract The objective of this research was to study the effectiveness of Srinakarinwirot Ongkharak Demonstration School’s lunch program using system approach evaluation including 1) Input, 2) Process, and 3) Output. The sample of this research consisted of 8 cooks, 450 students of Srinakarinwirot Ongkharak Demonstration School, 92 personnel of the Educational Research Development and Demonstration Institute, and 250 parents. The research tools used were 1) survey, 2) checklist form, 3) interview form, and 4) data record form. This research was conducted from September 2015 to April 2016. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the research were as follows; 1) The Input was at excellent level. 2) The process evaluation was 78.57%. and 3) The output evaluation was at very satisfactory level. Keywords: Effectiveness, School lunch project, SatisfactionDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ