การพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEMA Education เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรี ทักษะทางดนตรี และการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรี ทักษะทางดนตรี และการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEMA Education คะแนนของผู้เรียนในช่วงก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 โดยพบว่าในช่วงหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ทักษะทางดนตรี ในการวิจัยครั้งนี้จะกล่าวถึงทักษะดนตรีในด้านทักษะการฟังดนตรี ซึ่งจะประกอบด้วยการฟังเสียงเครื่องดนตรี การจำเสียงเครื่องดนตรี ความรู้ความเข้าเรื่องเครื่องดนตรี และทักษะการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี ผลของการวิจัยในครั้งนี้ นักเรียนมีทักษะดนตรีเพิ่มมากขึ้น ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนมีพัฒนาการทักษะทางดนตรีร้อยละ 59.4 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการทักษะทางดนตรี ร้อยละ 74.8 เฉลี่ยทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีพัฒนาการทางดนตรีเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.1 3) การจัดการเรียนรู้แบบ STEMA Education เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education เพิ่ม A = Art เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ความคิดสร้างสรรค์ ผลการวิจัยในครั้งนี้ นักเรียนมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น โดยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 65.7 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 47 โดยเฉลี่ยทั้ง 2 แผนการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.3 คำสำคัญ: สะเต็ม สะเต็มศึกษา STEMA ทักษะทางดนตรี การคิดสร้างสรรค์AbstractThis research aimed to develop integrated STEMA education for promoting learning achievement in music, musical skills, and creative thinking of grade 4 students. The results yielded that; 1) With integrated STEMA Education learning management, the pretest and posttest scores were different with statistical significance at the .001 level. It was found that after the learning activities, the students had higher learning achievement than before the class. 2) In this research, in terms of musical skills, only listening skills are discussed. This includes listening to the instrument, musical instrument recognition, knowledge of the instrument, and the use of computerized musical skills. The results showed that the students had higher musical skills. In the 1st learning plan, the musical skills of the students improved by 59.4 percent and 74.8 percent for the 2nd learning plan. The mean scores of both learning plans were 67.1 percent. 3) In terms of creativity, STEMA Education is derived from STEM Education with the addition of Art (A), which is directly related to creativity. The results of this research yielded that the students developed more creative ideas by 65.7 percent and 47 percent in the 1st and 2nd learning plans respectively. The mean scores of both plans were 56.3 percent. Keywords: STEM, STEM Education, STEMA, Music Skills, Creative ThinkingDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ