การพัฒนาทักษะการคิดนวัตกรรมโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงานเป็นฐานในวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้รูปแบบโครงงานเป็นฐานในวิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดนวัตกรรม 2) แบบประเมินทักษะการคิดนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการหาค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ย (x̅) ของการทดสอบก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ .00 และหลังเรียนครั้งที่ 4 มีค่าเท่ากับ 81.11 และมีค่า t เท่ากับ 36.43 แสดงให้เห็นว่าทักษะการคิดนวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการคิดนวัตกรรมของประชากรเป้าหมายมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการทดสอบก่อนเรียนพบว่า ประชากรเป้าหมายมีระดับทักษะการคิดนวัตกรรมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการพัฒนาขึ้นในครั้งที่ 1 โดยมีคะแนนอยู่ที่ ร้อยละ 36.89 ครั้งที่ 2 มีคะแนนอยู่ที่ ร้อยละ 59.96 และมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในครั้งที่ 3 ซึ่งมีระดับคะแนนอยู่ที่ ร้อยละ 80.52 และเริ่มคงที่ในครั้งที่ 4 โดยมีคะแนนอยู่ที่ ร้อยละ 81.11 อยู่ในระดับดีมาก คำสำคัญ: โครงงานเป็นฐาน ทักษะการคิดนวัตกรรม วิชาคอมพิวเตอร์ ประถมศึกษาปีที่ 6 AbstractThis research aimed to 1) develop the project-based learning approach for enhancing innovative thinking skills; and 2) study the innovative thinking skill level of Pratomsuksa 6 students. The target population consisted of 36 students who studied in Pratomsuksa 6 of Ongkharak Demonstration School Srinakarinwirot University in the 2015 academic year. The experiment was conducted by using the one group pretest-posttest design. The tools used in this research were 1) the project-based learning approach for enhancing innovative thinking skills and 2) the innovative thinking skill evaluation form. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test statistics. The results of the research were as follows. 1) The mean of the posttest result was higher than pretest which indicated that students improved their level of innovative thinking with statistical significance at a level of 0.1. 2) The level of innovative thinking had been developed continuously. The result showed that the pretest result was lower than the standard and had been developed from 36.9% to 80.52%. It had been stable at 81.11%, an excellent level, after the fourth experiment. Keywords: Project-based learning, Innovative thinking skills, Computer subject, Pratomsuksa 6Downloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ