การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • กฤษฎา ปัญญาวัน

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวม 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้งครั้งละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที  พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 25.98 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.888 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ย 12.52 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.473 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 มีจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 คะแนนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้  สะเต็มศึกษา AbstractThe purposes of this study were 1) to study the effectiveness of STEM learning activities on the students’ learning achievement; and 2) to assess students’ satisfaction towards STEM learning activities. The population of this study consisted of grade 7 students of Ongkharak Demonstration School during the second semester of the 2015 academic year. The duration of the research was five weeks in total with 2 periods per week. The results showed that after implementing STEM learning activities, the average score of students’ learning achievement was at 25.98 and standard deviation was at 5.888, both of which were significantly higher than before. The mean scores of students’ learning achievement after applying STEM learning activities were significantly higher than before with a .01 level of significance. In terms of the percentage of students’ learning achievement which was set at 70 percent, there were 11 students who passed this criteria, which was equal to 25 percent of the sample group.  The students’ satisfaction towards STEM learning activities was at a high level with the average score at 4.27 and standard deviation at 0.69. Keywords: Learning Management, STEM Education

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-05-29

Issue

Section

บทความวิจัย