การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาระดับทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการหาค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (T-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการวิเคราะห์ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการคิดวิเคราะห์เท่ากับ 59.22 3) ผลการวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการทำงานเป็นทีมเท่ากับ 41.89 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานเป็นทีมAbstractThe purposes of this research were 1) to compare the learning achievement of Mathayom 1 students before and after implementing integrated learning management using the project-based learning method; 2) to study the students’ level of analytical skill; and 3) to study the teamwork skill level of Mathayom 1 students who participated in integrated learning management using project-based learning. The sample group consisted of 27 students from Mathayom 1 at Ongkharak Demonstration School Srinakharinwirot University, Ongkharak district, Nakorn Nayok province, during the first semester of the 2016 academic year. The group was selected by simple random sampling using lottery with the classroom as a random unit. The tools used in this research included 1) lesson plan using the project-based learning method; 2) learning achievement test; 3) test of analytical thinking skills; and 4) test of teamwork skills. The data were analyzed by using statistical packages to find the cumulative values (x̅), standard deviation (S.D.) and statistics T-test. The results of the research revealed that 1) the learning achievement of Mathayom 1 students who received integrated learning management by using the project-based learning method was higher with statistical significance at .01; 2) The analysis of analytical thinking skills of the learners demonstrated accumulated points of 59.22; 3) The results of the teamwork skills of learners were 41.89 on average, which aligned with the assumptions of the research. Keywords: Integrated Project-Based Learning, Learning Achievement, Critical Thinking, Group Working SkillsDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ