ปฏิบัติการของการศึกษาในระบบโรงเรียนเพื่อการกำกับความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Authors

  • มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Abstract

บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการศึกษาในระบบโรงเรียน : ปฏิบัติการสร้างความหมายและอัตลักษณ์ให้กับภูมิปัญญาของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์อุดมการณ์ของการศึกษาในระบบโรงเรียน 2) วิเคราะห์ภาคปฏิบัติการจริงของการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยในฐานะภาคขยายของการศึกษาในระบบโรงเรียน และ 3) เพื่อวิเคราะห์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาสู่หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน โดยอาศัยการวิเคราะห์วาทกรรม ซึ่งเอกสาร งานวิจัย ประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานในระบบการศึกษาและคนในชุมชนที่ได้จากการสัมภาษณ์ระดับลึกเป็นตัวบทสำหรับการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างความหมายและความสำคัญให้กับการศึกษาได้ถูกกำกับด้วยนโยบายของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัยตามอุดมการณ์ทุนนิยม และด้วยภาคปฏิบัติการจริงของการศึกษาที่ได้สร้างพื้นที่ของการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยในฐานะภาคขยายที่ขึ้นตรงต่อการศึกษาในระบบโรงเรียน สะท้อนถึงอำนาจของการศึกษาในรูปของระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ควบคุมการศึกษาแบบแผนอื่นๆให้ดำรงอยู่ในฐานะของการศึกษาระดับรอง ที่จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อต้องเทียบเคียงกับการศึกษาของโรงเรียนก่อน ขณะที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกผนวกอยู่ในหลักสูตรก็ถูกลดทอนให้เรียนรู้ในแบบแผนผลผลิตของภูมิปัญญา โดยนัยนี้การศึกษาในระบบโรงเรียนจึงมีอำนาจในการกำกับความรู้และการศึกษาในแบบแผนอื่นอย่างชอบธรรม คำสำคัญ: ปฏิบัติการของการศึกษาในระบบโรงเรียน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น Abstract This research article is part of a study entitled “Formal education: Meaning and identity construction of local wisdom.  The objectives of this article were to analyze: 1) ideology of formal education; 2) actual practices of non-formal education and informal education as extension education of formal education; and 3) inclusion of local wisdom in formal education. Discourses collected from related literature, research reports, experiences of formal education practitioners, and data collected through in-depth interviews with people in the community were analyzed. The study found that the process of creating meanings and importance of education is controlled by the country’s modernization policy according to capitalist ideology.  The fact that the actual educational practices have constructed spaces of non-formal and informal education as extension education under formal education reflects the power of education in the form of rules and regulations that control the existence of other types of education as secondary to formal education, and can have value only after being compared with formal education whereas local wisdom included in the curriculum is reduced to learning the forms of wisdom products.  Therefore, formal education has power to control other types of knowledge and education. Keywords: Formal educational practices, Local wisdom

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ, มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาตราจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Downloads

Published

2019-01-16

Issue

Section

บทความวิจัย