การศึกษาเชิงปรากฏการณ์ต่อกระบวนการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่น

Authors

  • พิศมัย รัตนโรจน์สกุล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอกระบวนการปรับตัวของภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านภูมิปัญญาเกี่ยวกับผลผลิตจากมะพร้าว โดยการศึกษาย้อนกลับไปในอดีตจนถึงปัจจุบันของชุมชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างผลผลิตจากมะพร้าวซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านที่เกิดตามธรรมชาติ โดยความรู้ถูกสร้างขึ้นจากธรรมชาติและวิถีชีวิตบนลุ่มน้ำแม่กลอง  ผลผลิตจากมะพร้าวจึงเป็นไปเพื่อการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั้งคาวและหวาน เครื่องใช้ในครัวและในบ้าน วัสดุสำหรับสร้างบ้านเรือน  และเป็นยารักษาโรคและบำรุงสุขภาพด้วย  มะพร้าวทั้งต้นจึงเป็นพืชที่ทรงคุณค่าของคนลุ่มน้ำแม่กลองและมีการสืบสานความรู้สู่ลูกหลานจนกลายเป็นอาชีพของคนหลายๆ รุ่น แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมสมัยใหม่และระบบอุตสาหกรรม ผลผลิตจากมะพร้าวจึงถูกแปรให้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม  อีกทั้งชุมชนลุ่มน้ำแม่กลองยังเป็นแหล่งผลิตอาหารส่งเข้าสู่สังคมเมือง วิถีชีวิตของชาวสวนมะพร้าวเปลี่ยนไปเป็นการผลิตเพื่อการค้า มีการจ้างแรงงานเข้ามาทำงานในสวนและทำน้ำตาลมะพร้าวแทนการใช้แรงงานในครอบครัว ในขณะที่ลูกหลานของชาวสวนมะพร้าวกลับสืบสานภูมิปัญญาน้อยลงเพราะการเข้าสู่การศึกษาในระบบโรงเรียน ไปทำงานในเมืองและโรงงานอุตสาหกรรม ความรู้หลายๆ อย่างไม่ได้รับการสืบทอดจากคนเฒ่าคนแก่สู่ลูกหลาน ความรู้บางอย่างถูกแทนที่ด้วยความรู้สมัยใหม่ ความรู้ที่จะดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่จะต้องเป็นความรู้เชิงบูรณาการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีและความสะดวกสบาย อีกทั้งยังต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการดำเนินชีวิตสมัยใหม่คำสำคัญ: ภูมิปัญญาท้องถิ่น  กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนAbstract This research presents the process of local wisdom adaptation through local wisdom from coconut products by searching back into the past to present. The community had knowledge about the production from coconut, the local plant that grows naturally. This knowledge was built up from nature and the lifestyle in the Maeglong basin. Coconut products are for consumption in the form of food or dessert, kitchen and home utensils, materials for house construction, medicine and health supplementary foods. Coconut tree is therefore the valuable plant for the people in the Maeglong basin, and the knowledge that was passed down to their descendants has become the occupation of many generations. However, when society was transformed into modern society and the industrial system, coconut products are processed as raw materials for industrial plants. Additionally, the Maeglong basin community is the place to produce food for the urban community. The lifestyle of coconut growers changed into commercial production. Instead of the family labor, they employed workforce to do the work in the garden and produce coconut-palm sugar. Meanwhile, the descendants of these coconut gardeners rarely maintained their local wisdom because they entered the school education system, worked in town and in industrial factories. Many kinds of knowledge are not passed down from the elders to their descendants. The knowledge for living in modern society has to be an integrated knowledge that is mainly related to the use of technology and convenience and the adaptation in response to the market demand and the new lifestyle. Keywords: Local wisdom, The community learning process 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พิศมัย รัตนโรจน์สกุล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาตราจารย์ สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2019-01-16

Issue

Section

บทความวิจัย