การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 2) ศึกษาคุณภาพรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จาก 137 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 22 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู 2) แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู 3) แบบประเมินคุณภาพการนิเทศตามรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) ได้รูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู ประกอบด้วย ก่อ ร่าง สร้าง ตัว 2) ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ย 4.61 3) คุณภาพการนิเทศตามรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะ มีคุณภาพระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.83 และ 4) ความพึงพอใจของผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างสื่ออัจฉริยะสำหรับครู มีความพึงพอใจระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39คำสำคัญ: รูปแบบการนิเทศ สื่ออัจฉริยะ การนิเทศแบบก่อ ร่าง สร้าง ตัวAbstractThe purposes of this research were : 1) to develop supervisory model for teachers to create intelligent media 2) to study the quality of supervisory Model for teachers to create intelligent media 3) to study the satisfaction of the teachers on the supervisory Model to create intelligent media. The group of populations were 22 teachers teaching Thai language in Prathomsuksa 3, semester 2, academic year 2016 in Nakhonnayok Primary Educational Service Area Office, selected from 137 schools by simple random sampling technique. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation.Results of research yielded 1) the supervisory model for teachers included the consisted activities: goal, plan, create and job 2) the evaluation supervisory model to create intelligent media was considered appropriate at the highest level with the average of 4.61 3) the quality of the supervisory model was at the high level with the average of 3.83 and 4) the teachers had the highest level of satisfaction on the supervisory model to create intelligent media at 4.39.Keywords: Supervisor Model, Intelligent Media, Consisted activities: goal, plan, create and jobDownloads
Downloads
Published
Issue
Section
License
1) ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2) เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น
3) ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4) ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน”
5) ต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
6) ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
7) ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานของตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
8) ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
9) ไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิงหรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง ควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป
10) ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้และ / หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี) จะต้องระบุในบทความและแจ้งให้บรรณาธิการทราบ