การประเมินโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 22

Authors

  • ฉัตรภัฏณ์ เลิศวิริยะภากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2)ประเมินผลการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทีมีต่อโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประชากรที่ในการวิจัย ได้แก่ 1) ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านคลอง 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 31 คน และ 3) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 22 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการโรงเรียนรักการอ่าน สำหรับผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แบบประเมินโครงการโรงเรียนรักการอ่านสำหรับผู้ปกครองชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) แบบทดสอบการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อโครงการโรงเรียนรักการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย 1) ผลการประเมินโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านคลอง 22 โดยผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.63 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26 2) ผลการประเมินโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านคลอง 22 โดยผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.65 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.18 3) ผลประเมินการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนผ่านการทดสอบครบทุกคน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และ 4) ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อโครงการโรงเรียนรักการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 3.60 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 คำสำคัญ: การประเมินโครงการ  โครงการรักการอ่าน  รักการอ่านAbstract The objectives of this research were: 1) to evaluate the project to promote reading habits among  Prathomsuksa 1  students at Ban Klong 22 School 2) to evaluate reading of Prathomsuksa 1  students in Ban Klong 22 School 3) to evaluate the parents’ satisfaction on the project in Ban Klong 22 School. The population were: 1) 9 teachers of Prathomsuksa 1 2) 31 students from Prathomsuksa 1. 3) 31 parents of Prathomsuksa 1 students selected by the purposive sample technique. The research instruments were: 1) the questionnaire for the teachers in Prathomsuksa 1 to evaluate the reading habits project 2) the questionnaires for the parents of Prathomsuksa 1 students to evaluate the reading habits project 3) the reading test 4) the questionnaires for the parents of Prathomsuksa 1 students to evaluate the satisfaction on the reading habits project. The data were analyzed by statistics including percentage, mean and standard deviation. The research results were as following: 1) the project to promote reading habits among Prathomsuksa 1 students in Ban Klong 22 School was implemented according to the opinions of the teachers, student’s parents. The aspects of context, input, process and product as evaluated by the teachers were at the high level with the average of 3.63 and the standard deviation of 0.26; 2) the project to promote reading habits among Prathomsuksa 1 students in Ban Klong 22 School as evaluated by the student’s parents in the aspects of context, input, process and product were at the high level with the average of 3.65 and the standard deviation of 0.18; 3) all the Prathomsuksa 1 students passed the reading test; and 4) student’s parents had high level of satisfaction with the average of 3.60 and the standard deviation of 0.46. Keywords: Project Evaluation, School Loves Reading Project, Love Reading

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ฉัตรภัฏณ์ เลิศวิริยะภากร, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Downloads

Published

2019-01-16

Issue

Section

บทความวิจัย