ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model

Authors

  • กิตติศักดิ์ แป้นงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้สอนวิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 137 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกโดยการสุ่มอย่างง่าย โรงเรียนละ 1 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model สำหรับผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าความต้องการ 5 ระดับ ประกอบด้วย ด้านการประเมินผล ด้านความรู้ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี ด้านคุณลักษณะของครู และด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model สำหรับผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าความต้องการ 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้มากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 และ 2) ผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning Model มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 คำสำคัญ: ความสามารถในการสอน  รูปแบบการเรียนรู้  รูปแบบการเรียนรู้ PCRS Learning ModelAbstractThe objectives of this research were: 1) to study the ability of the science teachers in Prathomsuksa 6 applying the PCRS Learning Model and 2) to study the satisfaction on the PCRS Learning Model of the science teachers in Prathomsuksa 6. The population were the teachers in Primary Educational Nakhon Nayok Service Area Office teaching science in Prathomsuksa 6 in the first semester, academic year 2017 from 137 schools. The samples were selected by the simple random sampling technique. The research instruments were: 1) an evaluation for appropriate Instructional PCRS Learning Model and 2) the questionnaire on the satisfaction of the PCRS Learning Model. The data was analyzed by the basic statistics including mean and standard deviation. The research results yielded that: 1) the ability of the science teachers in Prathomsuksa 6 applying the PCRS Learning Model was found at the highest level with the average of 4.51 from 5 scales 2) it was found that the satisfaction on the PCRS Learning Model was at the highest level with the average of 4.51.Keywords: The Ability of the Instructor, Learning Model, PCRS Learning Model

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กิตติศักดิ์ แป้นงาม, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

Downloads

Published

2019-01-16

Issue

Section

บทความวิจัย