About the Journal

Focus and Scope

เกี่ยวกับวารสาร

วารสารรัฐศาสตร์สาร มศว เป็นวารสารวิชาการฉบับแรกของภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์เป็นสื่อกลางสำหรับแลกเปลี่ยนนานาทัศนะในหมู่นักวิชาการและเผยแพร่ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ทั้งในรูปบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทปริทัศน์หนังสือกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) บทความที่ขอตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่มีความรู้ความสามารถในสาขาที่บทความนั้นเกี่ยวข้องร่วมกันกลั่นกรองจำนวน 3 ท่าน ต่อบทความ ในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) เพื่อให้สอดคล้องกับ “ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564” ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ตามขั้นตอนดังนี้

  1. บรรณาธิการ ตอบกลับการได้รับบทความตามข้อกำหนดการส่งบทความจากผู้เขียน จากนั้นบรรณาธิการจะตรวจสอบความสอดคล้องของชื่อเรื่องและเนื้อหาของบทความกับวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร
  2. หากตรงกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร จะดำเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่บทความนั้นเกี่ยวข้อง เพื่อประเมินคุณภาพของบทความต่อไป โดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิจารณาว่าบทความอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์ได้หรือควรมีการแก้ไขในบางส่วนก่อนการตีพิมพ์ หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ โดยบรรณาธิการจะตีพิมพ์บทความที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และแก้ไขตามข้อเสนอแนะแล้ว
  3. ฝ่ายประสานงานวารสารฯ ส่งหนังสือตอบรับการตีพิมพ์หรือปฏิบัติการตีพิมพ์ให้ผู้เขียนบทความ

ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับผลงานวิชาการเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารรัฐศาสตร์สาร มศว อย่างไรก็ตาม ทัศนะและข้อคิดเห็นที่ปรากฏในผลงาน เป็นของผู้นิพนธ์ ผู้ใดที่จะนำผลงานฯ ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์เป็นลายลักษณ์อักษร และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเตรียมผลงานวิชาการโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบล่วงหน้า การพิจารณาของกองบรรณาธิการในการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานและทัศนะทางวิชาการทางรัฐศาสตร์
2. เป็นแหล่งในการเสนอผลงานวิจัย บทความ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมือง การปกครอง การบริหารรัฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

 

สาขาวิชาที่เปิดรับผลงาน

สาขาวิชาด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง