ข้อบกพร่องในการทำแบบทดสอบเรื่องอนุพันธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 (กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

ขวัญ เพียซ้าย

Abstract

Error Analysis of Doing the Derivative Test of First–Year Undergraduates (Health Science Major), Srinakharinwirot University
 
Khawn Piasai
 
รับบทความ: 2 กุมภาพันธ์ 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 11 เมษายน 2557
 
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องในการทำแบบทดสอบเรื่องอนุพันธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 (กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 50 คน ซึ่งชักตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเรื่องอนุพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า นิสิตมีข้อบกพร่องในการทำแบบทดสอบเรื่องอนุพันธ์แบ่งเป็น 4 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ด้านการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท หรือสูตรเกี่ยวกับอนุพันธ์ (คิดเป็นร้อยละ 74.22) (2) ด้านความไม่รอบคอบ (คิดเป็นร้อยละ 16.88)  (3) ด้านความรู้พื้นฐานทางพีชคณิต (คิดเป็นร้อยละ 6.22) และ (4) ด้านการคำนวณ (คิดเป็นร้อยละ 2.67)
คำสำคัญ: ข้อบกพร่อง อนุพันธ์  นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1
 
Abstract
This research aimed to study the error analysis from doing the derivative test of first–year undergraduates (health sciences major), Srinakharinwirot University. The subjects, chosen by simple random sampling, consisted of 50 first-year undergraduates, majoring in Sports Science, Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University, who enrolled in mathematics I during the second semester of academic year 2013. The research tool was a derivative test. The data were analyzed by using frequency table and percentage. The findings revealed that students’ errors of doing the derivative test sorting from high to low were (1) using definitions, theorems or formulas of derivatives (74.22%), (2) indiscretion (16.88%), basic knowledge of algebra (6.22%), and computation (2.67%)
Keywords: Error, Derivative, First–year undergraduate

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551–2565). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533). การสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารณี คำแหง. (2533). การศึกษาข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนาพร คลังแก้ว. (2532). การวิเคราะห์ข้อบกพร่องในการทำแบบทดสอบคณิตศาสตร์แบบอัตนัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพ-มหานคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาภรณ์ สุวรรณภา. (2536). การศึกษาข้อบกพร่องทาง การเรียนคณิตศาสตร์ในความรู้พื้นฐานทางพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์–การสอน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีรศักดิ์ บุญทน. (2553). คณิตศาสตร์อิเล็กทรอนิกส์ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สิริพร ทิพย์คง. (2533). ทฤษฎีและวิธีสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัมพร ม้าคนอง. (2536). รายงานการวินิจฉัยข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Boyer, C. B. (1968). A History of Mathematics. New York: John Wiley and Sons.

Chai, C. M., and Ang, B. H. (1987). Identifying the rea-sons underlying pupils particular error in simple algebraic expressions and equations. Proceed-ings of Fourth Southeast Asian Conference on Mathematics Education (ICMI- SEAMS), pp.189-198. Singapore: Institute of Education.

Movshovitz–Hadar, N., Zaslaysky, O., and Inbar, S. (1987). An empirical classification model of errors in high school mathematics. Journal of Research in Mathematics Education 18(1): 3-14.

Neuhauser, C. (2011). Calculus for Biology and Medicine. New Jersey: Prentice Hall.

Stewart, J. (2006). Concepts & Contexts 3E. China: Thomson Brooks/Cole.

Most read articles by the same author(s)