การใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบนิเวศ และเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
Abstract
Sukanda Chaiteka and Wirot Kesonbua
รับบทความ: 14 มีนาคม 2555; ยอมรับตีพิมพ์: 22 เมษายน 2555
บทคัดย่อ
การใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการเกษตรอินทรีย์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบนิเวศ และเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาน้อย จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 39 คน วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยา-ศาสตร์ 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินการวิจัยโดย 1) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน 2) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้และประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (70%) และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 76.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (70%) 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (70%) และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 100 ได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (70%) และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95
คำสำคัญ: วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เกษตรอินทรีย์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Abstract
The 7-E’s learning cycle integrated with organic farming for developing science process skill and students’ achievement in the topic of ecosystem, and attitudes toward environmental conservation was to investigate 39 Grade 9 students from Nanoi School, Nan province, during the first semester of academic year 2011. The purpose of the present research included: 1) developing students’ achievement in science, 2) investigation of science process skill, and 3) studying the students’ attitude toward environmental conservation. Research was operated by 1) measuring students’ achievement before learning, 2) performing learning activities and evaluating science process skill, and 3) measuring students’ achievement and attitude toward the environmental conservation after learning. The results indicated that 1) the post achievement score of students was 76.75%, which was higher than minimum criterion (70%), and 30 students or 76.92% of the group was passing, which are also higher than minimum criterion (70%), 2) students’ score in science process skill are 81.25 %, which are higher than minimum criterion (70%), and 39 students or 100% of the group are passing, which are also higher than minimum criterion (70%), and 3) student demonstrated a good level in attitudes toward the environmental conservation, with 3.95 levels by means.
Keywords: The 7-e’s learning cycle, Organic farming, Learning achievement, Science process skill, Attitudes toward environmental conservation
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
นิดา กิจจินดาโอภาส. (2552) ผลการเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ (7Es) ที่ใช้พหุปัญญากับการสอนตามคู่มือครูที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิยวรรณ ประเสริฐไทย. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการสอนบูรณาการแบบคู่ขนานด้วย วัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นเรื่อง ลำห้วยบอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฝ่ายวิชาการ. (2553). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. น่าน: โรงเรียนนาน้อย.
มณีรัตน์ เกตุไสว. (2540). ผลการจัดกิจกรรมการทดลองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ด้านมโนมติทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ลักษณา ศิริมาลา. (2553). ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน 7E. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนโดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 8(2): 28-38.
สุวัฒน์ นิยมค้า. (2531). ทฤษฎีและแนวทางการปฏิบัติในการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เล่ม 1 และ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: เจเนอรับบุ๊ค.
อัจฉรา ไชยสี. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.