กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทำสวนผลไม้ของเกษตรกร กรณีศึกษาบ้านบ่อหิน ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
Abstract
บทคัดย่อการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทำสวนผลไม้ของเกษตรกร บ้านบ่อหิน ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาการทำสวนผลไม้ของเกษตรกร เริ่มจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในแนวทางการสารชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการพึ่งพาตนเอง เน้นการพัฒนาแบบองค์รวม โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ การเรียนรู้มีทั้งที่พัฒนาจากฐานความรู้เดิม และสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยเชื่อมโยงจากภูมิปัญญาเดิมและวิทยาการสมัยใหม่ ทั้งจากบุคคล กลุ่ม เครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้านต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมเอื้อต่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้แก่ การจัดเวทีประชุมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการทดลองปฏิบัติจริง โดยผู้วิจัยมีบทบาทเป็น ผู้กระตุ้นประสาน (Facilitator) ให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนคำสำคัญ: กระบวนการเรียนรู้ เกษตรกรสวนผลไม้ การมีส่วนร่วมของเกษตรกรDownloads
Published
2012-05-18
Issue
Section
บทความวิจัย