มาตรการทางกฎหมายในการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน

Legal measure on public car transportation service applications

Authors

  • ศิรินทร์พร ธารมัติ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Keywords:

มาตรการ, กฎหมาย, การให้บริการ, การขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ, ระบบแอปพลิเคชัน

Abstract

รายงานการวิจัยเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายและวิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยศึกษานิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันกับผู้ขับขี่ว่าอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับใด เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาระบบ การขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงได้แนวทางในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารไปพร้อม ๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตีความรวมทั้งกำหนดประเด็นที่สำคัญเพื่อทำการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป               จากผลการศึกษาวิจัยพบว่าในปัจจุบันมีกฎหมายที่เข้ามากำกับดูแลในเรื่องของการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชัน คือ กฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ซึ่งกรมการขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ การขนส่งสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันในปัจจุบัน โดยพบว่าผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันบางรายไม่ยอมเข้ามา  ยื่นขอรับรองระบบแอปพลิเคชันตามกฎกระทรวงดังกล่าว เพราะกฎหมายไม่ได้มีบทลงโทษสำหรับผู้ให้บริการระบบ  แอปพลิเคชันที่ไม่ได้เข้ามายื่นขอรับรองระบบแอปพลิเคชันไว้ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบกควรมีการกำหนดมาตรการ จูงใจหรือบทลงโทษกับผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันที่ไม่ยอมเข้ามายื่นขอรับรองตามกฎกระทรวง ส่วนแนวทางในการพัฒนาการให้บริการรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน ไม่ควรกำหนดให้  ผู้ขับขี่ที่ต้องการจะเข้ามาอยู่ในระบบการขนส่งสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันจะต้องนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมา จดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบแอปพลิเคชันเพราะเป็นการสร้างภาระให้ผู้ขับขี่ต้องนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาจดทะเบียนเปลี่ยนประเภท แต่ควรเปลี่ยนเป็นการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาจดแจ้งเพื่อให้บริการขนส่งผู้โดยสารสาธารณะผ่านระบบแอปพลิเคชันแทน นอกจากนี้พบว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการระบบแอปพลิเคชันและผู้ขับขี่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง โดยรูปแบบการให้บริการมีลักษณะเป็นการตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยนิติสัมพันธ์ดังกล่าวไม่เป็นไปตามลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของ  สัญญานายหน้า สัญญาหุ้นส่วนหรือสัญญารับขนคนโดยสารแต่อย่างใด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบระหว่างผู้ใช้บริการ กับผู้ให้บริการระบบ                       แอปพลิเคชันและผู้ขับขี่ในอนาคตได้ (The research reports legal measures for public transportation services through applications. The objective of this research is to study the legal measures and analyze related problems of the state agencies responsible for supervising public transportation services through applications. This is done by studying legal relations between the application system service providers and the drivers to find which laws can effectively be enforced to set up guidelines for developing appropriate and fair public transportation systems in the future. This qualitative research employs document data analysis together with field work data and in-depth interviews with those who provided public transportation services. The acquired data were subjected to overall interpretation and used to pinpoint key issues to propose guidelines for solving problems. The research shows that the present law supervising public transportation services through the application systems is the Ministerial Regulation Re: Ride-Hailing Vehicle via an Electronic System B.E. 2564 (2021), currently under the supervision and enforcement of the state agency, namely, the Department of Land Transportation on public transportation services through the application systems. This research reveals that some application service providers refuse to submit applications required by the said ministry because such law has never imposed legal punishment for the application system service providers who failed to comply with the application system requirements. Therefore, the Department of Land Transportation should set up measures to motivate or punish the application service providers who refuse to submit the system applications in accordance with the ministerial rules. As for developing guidelines for “Ride-Hailing Service Vehicle via an Electronic System” appropriate measures for the present era, the guidelines should not require the drivers to register changing personal vehicle to the Ride-Hailing Service Vehicle via an Electronic System because it would create a burden for the registered drivers. Instead, it should register changing to passenger transportation services through an Electronic System. Furthermore, the findings suggest the legal relations between the application services providers and the drivers as one type of bilateral contract that the service model is characterized by reciprocal obligations, having such legal relations does not conform with the nature of the following contracts: labor contract, contract for making goods, brokerage contract, partnership contract or carriage of passengers contract which may impact the responsibilities between the service recipients and application service providers and potential drivers in the future.)

References

กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2566). จำนวนรถจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

เกาะกระแสออนไลน์. (2565). รับรองแล้ว! 6 แอปฯรถรับจ้างถูกกฎหมาย จองคิวอบรมใบอนุญาตทางไหนเช็ก. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566, จาก https://news.ch7.com/detail/608884

ชัชฎาภณณ์ ประยูรยงษ์. (2561). Application “เรียก Taxi” ปัญหากฎหมายล้าหลังจริงหรือ?. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ทิพรัตน์ เพ็ชรพัน. (2562). มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้บริการ รถแท็กซี่ (TAXI) อูเบอร์ (UBER) และแกร็บ (GRAB). สารนิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายธุรกิจ). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ถ่ายเอกสาร.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). ขบ.เผยแอปฯ เรียกรถผ่านรับรองแล้ว 8 ราย จ่อยื่นอีก 3 ราย ย้ำรถป้ายดำต้องขึ้นทะเบียนล่าสุดมี 2,634 คัน. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://mgronline.com/business/detail/9660000094189

อัจฉรียา ตันวิตรานนท์. (2560). ปัญหาความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจขนส่งที่ไม่ได้รับอนุญาต: กรณีศึกษาอูเบอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์, คณะนิติศาสตร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 27 พ.ศ. 2504

กฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองระบบอิเล็กทรอนิกส์และผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติรถยนต์ พุทธศักราช 2473

พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522

Downloads

Published

2024-12-26