การพัฒนาการคิดทางประวัติศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
Development the Historical Thinking Skills by the Jigsaw Cooperative Learning and 5W1H for Matthayomsuksa 2 Students of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary)
Keywords:
การคิดทางประวัติศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์, เทคนิค 5W1HAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของการคิดทางประวัติศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยดำเนินการวิจัยตามวงจร PDCA ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินการคิดทางประวัติศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีพัฒนาการการคิดทางประวัติศาสตร์ระดับสูงมาก (GS=78.60%) และมีการคิดทางประวัติศาสตร์ระดับมากที่สุด ( = 13.61, S.D. = 1.01) 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับเทคนิค 5W1H ร้อยละ 81.60 หรือ นักเรียนมีความพึงพอใจระดับมาก ( =4.08, S.D. = 0.89) (This research aims to 1) develop historical thinking skills by using the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques and 2) study student satisfaction with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques. Using purposive sampling method, the targeted group of this research includes 33 Matthayomsuksa 2/7 students from Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Secondary) in the first semester of the 2023 academic year. This research is done according to the Deming cycles (PDCA). The research instruments include the following: 1) learning management plans 2) an assessment form on historical thinking and 3) a questionnaire on student satisfaction with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques. The statistical analysis includes means, standard deviation, and statistics measuring relative development scores. The research shows two aspects. Firstly, the development of historical thinking skills of students is at a very high level (GS=78.60%) and has a very good level of historical thinking skills ( = 13.61, S.D. = 1.01). Secondly, 81.60 percent of the students are satisfied with the jigsaw cooperative learning and 5W1H techniques, that is, students have a high level of satisfaction ( = 4.08, S.D. = 0.89))References
กรมวิชาการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับ-สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562, กรกฎาคม-กันยายน). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1(3): 39-46.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย ชิวปรีชา. (2549). การใช้คำถามในห้องเรียน. ข่าวสาร สสวท. 2(มกราคม 2549): 9-11.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2566). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2554. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2566, จาก https://dictionary.orst.go.th/
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2552). อาจารยบูชา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ศักดิ์ดา ทองโสภณ. (2564, กันยายน-ธันวาคม). เทคนิคการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมือง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32(3): 11-23.
ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อัดสำเนา.
Aronson, E. (1978). The Jigsaw classroom. California: Sage.
Johnson, D. W.; Johnson, R. T.; & Holubec, E. J. (1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Minnesota: Interaction Book Company.
National Center for History in the Schools. (1996). National Standards for History: Basic Edition. Los Angeles: NCHS at the University of California.
VanSledright, B. (2004). What Does It Mean to Think Historically and How Do You Teach It?. Social Education. 68(3): 230-233.