ความสมดุลชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Work-Life Balance and Work-from-Home Efficiency among Private Company Employees during COVID-19 Pandemic Crisis in Bangkok
Keywords:
ความสมดุลชีวิตในการทำงาน, ประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน, โควิด-19Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสมดุลชีวิตในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 30-39 ปี มีสถานภาพสมรสไม่มีบุตร และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-45,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านมิติสัมพันธภาพ ด้านมิติความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านมิติการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงานในระดับดี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมดุลชีวิตในการทำงานในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า พนักงานบริษัทเอกชนที่มีอายุ สถานภาพสมรส และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีสมดุลชีวิตในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านมิติสัมพันธภาพ และด้านมิติการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงานมีผลต่อความสมดุลชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถพยากรณ์ ได้ร้อยละ 44.0 และความสมดุลชีวิตในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 50.8 This research aims to study work environment, work-life balance, and work-from-home efficiency among private company employees during the COVID-19 pandemic crisis in Bangkok. Four hundred questionnaires were collected. The research shows that: most of the respondents were female, aged between 30 and39 years old, married without children, and have an average monthly income between 30,001 to 45,000 baht. The opinions of the work environment in terms of relationship dimensions, personal growth dimensions, and system maintenance and change dimensions are at a good level. The opinions on work-life balance and work-from-home efficiency are at a high level. The result of hypothesis testing found that private company employees with different ages, marital statuses, and average monthly income had a different overall work-life balance at a 0.01 level of statistical significance. The work environment in dimensions of relationship and system maintenance and change influenced the overall work-life balance of private company employees at a 0.01 level of statistical significance and could be explained by adjusted R2 at 44.0 percent. The work-life balance influenced the work-from-home efficiency of private company employees at a 0.01 level of statistical significance with an adjusted R2 at 50.8 percent.References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กานต์ บุญศิริ. (2563). การทำงานที่บ้าน (Work From Home). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://commarts.stou.ac.th/wp-content/uploads/2022/04/413311_ดร.กานต์กับการทำงานที่บ้านWorkFromHome.pdf
งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
จารุเกียรติ เลี่ยมสุวรรณ และชัยฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์. (2565). การยอมรับเทคโนโลยี และการทำงานที่บ้านที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่แจ้งวัฒนะ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 13(1): 181-195.
เจนจิรา เทียนวิจิตร. (2564). แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการทำงานของกลุ่มคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐวีณ์ นิตยสมบูรณ์. (2565). อิทธิพลของปัจจัยสนับสนุนด้านการทำงานระยะไกลที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของประชากรวัยทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณา วิจิตร เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล และ ณัฐพล ฉายศิริ. (2564). รูปแบบการทำงานที่บ้านของบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 8(1): 30-42.
สมชัย ปราบรัตน์. (2561). ความสมดุลชีวิตและทำงานของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตประเภทอาหารแปรรูปกระป๋อง: กรณีศึกษาเฉพาะ 3 บริษัทขนาดใหญ่ในจังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9.
เสาวรัจ รัตนคำฟู และ เมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19%20
หทัยทิพย์ ลิ้วสงวนกุลธร. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลชีวิตกับการทำงาน กรณีศึกษาสถาบันคุ้มครองเงินฝาก. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การจัดการทรัพยากรมนุษย์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อมรรัตน์ แก้วทวี และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน บรรยากาศความปลอดภัยในการทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนภาคใต้. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3): 313-320.
Ahmad, S.; Shahzad, K. (2011). HRM and Employee Performance: A Case of University Teachers of Azad Jammu and Kashmir (AJK) in Pakistan. African Journal of Business Management. 5(13): 5249.
Gibson, James; John, Ivancevich; & Robert, Konopaske. (2011). Organizations: Behavior, Structure, Processes, 14th ed. New York: McGraw-Hill/Irwin.
Haar, J. M.; Russo, M.; Sune, A.; & Ollier, Malaterre. (2014). Outcomes of Work-Life Balance on Job Satisfaction, Life Satisfaction and Mental Health: A Study across Seven Cultures. Journal of Vocational Behavior. 85(3): 361-373.
Haider, S.; Jabeen, S.; & Ahmad, J. (2018). Moderated Mediation Between Work Life Balance and Employee Job Performance: The Role of Psychological Wellbeing and Satisfaction with Co-Workers. Rev. Psicol. Trabajo Organ. 34(1): 1–24.
Hair, J. F.; Hult, G. T. M.; Ringle, C. M.; & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling. Thousand Oaks, CA: Sage.
HÖber, BjÖrn. (2017). Firm Internal Innovation Contests: Work Environment Perceptions and Employees’ Participation. Wiesbaden, Germany: Gabler Verlag.
Robbins, Stephen, P. & Timothy, A. Judge. (2013). Essentials of Organizational Behavior. 12th ed. New York USA: Pearson.
Siagian, P. S. (2014). Human Resource Management. Jakarta: Bumi Aksara.
Susanto, P. Mohammad, E. H., Taslima, J., Bamy, E., Mega, A. Z., & Md, Asadul I. (2022). Work-Life Balance, Job Satisfaction, and Job Performance of SMEs Employees: The Moderating Role of Family-Supportive Supervisor Behaviors. Frontiers in Psychology. 13(June 2022): 1-12.
Thamrin, M. & Riyanto, S. (2020). The Effect of Work Motivation, Work Environment, and Work Life Balance on Employee Performance at PT. Angkasapura I (Persero) Sultan Aji Muhammad Sulaimansepinggan Airport-Balikpapan. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences. 19(6): 40-47.