แรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย: สถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค และผลกระทบ
Thai Labors in Sabah and Sarawak, Malaysia: Situations, Problems and Obstacles and Effects
Keywords:
ปัญหาและอุปสรรค, ผลกระทบ, ความมั่นคงของมนุษย์, แรงงานไทย, รัฐซาบาห์และซาราวักAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ของแรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการศึกษาโดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย แรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน นายหน้าและเครือข่ายองค์กรที่มิใช่รัฐ (NGO) ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของแรงงานไทยในรัฐซาบาห์และซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย อุปสรรคด้านภาษา ปัญหาที่เกิดจากนายจ้าง และปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้แรงงานไทยบางส่วนต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อน และไม่ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสุขภาพและความมั่นคงส่วนบุคคล ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลไทยควรเร่งเจรจากับรัฐบาลมาเลเซีย เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำแรงงานเหล่านี้เข้าสู่ระบบและลดปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมถึงการพิจารณาให้ระบบประกันสังคมของไทยสามารถให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยในต่างประเทศ The purpose of the research is to study and understand the situation, problems and obstacles, including the effects on human security of Thai workers in Sabah and Sarawak, Malaysia. This qualitative research uses data collected from documents and interviews with key informants, including Thai workers in Sabah and Sarawak, Ministry of Labor officers, brokers, and NGO workers. The research shows that the problems and challenges of Thai workers in Sabah and Sarawak, Malaysia are language barriers, problems caused by the employer, and illegal labor problems. These problems result in some Thai workers having to live in hiding and lack the basic protection which affects human security in three important areas: economic stability, health, and personal security. For this reason, the Thai government should discuss with the Malaysian government to consider the possibility of bringing these workers into the system and reducing illegal labor. Thai social security system should be incorporated to provide protection and assistance to Thai workers that go abroad.References
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ. (2561). ขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์การหลอกลวงไปค้าประเวณีที่มาเลเซีย.สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files/1527712994.7f7431c76e515edf0e5825edaa4ff708.pdf
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ (ม.ป.ป.). แนะนำการใช้ชีวิตและการทำงานในประเทศมาเลเซีย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/overseas_th/e5c3a4e2de85a10d264ce88a7682a1f2.pdf
ภาวนา เพ็ชรพราย. (2563). การศึกษาและเปรียบเทียบสิทธิเสรีภาพของแรงงานถูกกฎหมายและผีน้อยในสาธารณรัฐเกาหลี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2(2): 36-60.
วจนา วรรลยางกูร. (2562). ‘ผีน้อยไทยในเกาหลี’ ทางรอดจากสังคมไร้ทางเลือก. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.the101.world/little-ghost-in-south-korea/
วรพรรณี ดำรงมณี. (2561). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 10 ปี 2561 เรื่อง การบูรณาการกลไกในภารกิจคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ: กรณีศึกษาแรงงานไทยในเกาหลีใต้. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงต่างประเทศ.
วรรณา ก้องพลานนท์. (2558). สภาพปัญหาและการปรับตัวของแรงงานไทยย้ายถิ่น รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ถ่ายเอกสาร.
สุทธิพร บุญมาก. (2562). นโยบายการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของแรงงานชาวต่างชาติระดับทักษะ: กรณีศึกษาการเข้าเมืองและว่าจ้างงานของประเทศมาเลเซีย. MFU Connexion, 8(1): 258-298.
สุทธิพร บุญมาก และ วรสรณ์ เนตรทิพย์. (2565). การย้ายถิ่นแรงงานกลับมาตุภูมิของแรงงานไทยเชื้อสายมลายูจากประเทศมาเลเซีย: ผลลัพธ์ที่มีต่อพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
สุเทพ พันประสิทธิ์, วรุณพันธ์ คงสม, และ ชนาธิป มิธิดา (2552). การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 23(70): 45-61.
ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคกลาง. (2564). รายงานการวิเคราะห์การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
สุรพันธ์ สุวรรณประดิษฐ์. (2544). ความร่วมมือทางด้านแรงงานระหว่างไทย-ไต้หวัน ระหว่างปี พ.ศ.2534-2542. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา ส่วนที่ 2 ไทเป. (2566). ปัญหาแรงงานไทยในไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://taipei.mol.go.th/situation/the-general-problem-of-thai-workers
สำนักงานแรงงานในประเทศญี่ปุ่น. (2561). ปัญหาทั่วไปของแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://japan.mol.go.th/situation/the-general-problem-of-thai-workers
สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซีย. (2562). แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://malaysia.mol.go.th/situation/trends-and-opportunities-of-thai-workers
______. (2561). ตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://malaysia.mol.go.th/situation/thai-labor-market
______. (2561). แนวโน้มและโอกาสของแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://malaysia.mol.go.th/situation/trends-and-opportunities-of-thai-workers
______. (2561). ปัญหาทั่วไปของแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://malaysia.mol.go.th/situation/the-general-problem-of-thai-workers
______. (2559). ร้องทุกข์จากรัฐซาราวักอีกแล้ว. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://malaysia.mol.go.th/news/ร้องทุกข์จากซาราวักอีกแล้ว
อุดม สาพิโต. (2552). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 1 ปี 2552 เรื่อง ปัญหา-อุปสรรค/การส่งเสริมแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ (กรณีศึกษาแรงงานไทยในโอมาน/เยเมน). กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงต่างประเทศ.
อรรถพงศ์ พันธุ์รัตน์. (2560). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรนักบริหารการทูต รุ่นที่ 9 ปี 2560 เรื่อง การทำงานอย่างผิดกฎหมายของคนไทยในประเทศมาเลเซีย: แนวทางการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงต่างประเทศ.
Human Security Unit, Office for the Coordination of Humanitarian Affairs, The United Nations. (2009). Human Security in Theory and Practice: Application of the Human Security Concept and the United Nations Trust Fund for Human Security. Retrieved on June 1, 2023, from https://www.undp.org/content/dam/turkey/docs/news-from-new-horizons/issue-41/UNDP-TR-HSHandbook_2009.pdf
Immigration Department of Malaysia. (2015). Immigration department of Malaysia Home Page, Headquarters of the Immigration Department Malaysia, Ministry of Home Affairs. Retrieved on June 1, 2023, from http://www.imi.gov.my/index.php/en/main-services/
Massey, Douglas S. (1999). International Migration at the Dawn of the Twenty-First Century: The Role of the State. Population and Development Review. 99(25): 303-322.
Promsaka Na Sakolnakorn, Thongphon. (2019). The Problems, Obstacles, Challenges and Government Policy Guidelines for Thai Migrant Workers in Singapore and Malaysia. Kasetsart Journal of Social Science. 19(40): 98-104.
Samarn Laodamrongchai. (2015). Administrative of Thai Migrant Workers Go to Work Aboard in 21st Century. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).
The EXIT. (2018) ลวงคนลงเรือประมง. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/watch/?v=330011737572180
United Nations Development Programme (UNDP). (1994). Human Development Report 1994. New York: Oxford University Press.