การพัฒนาแบบวัดความความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
The Development of Geographic-Literacy Scale for Upper Secondary Education Student
Keywords:
ความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์, การพัฒนาแบบวัดAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาเกณฑ์ปกติสำหรับการแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และ 4) เพื่อพัฒนาคู่มือการใช้แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพและพัฒนาเกณฑ์ปกติของแบบวัด คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ซึ่งเรียนครบทุกตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 17,876 คน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน โดยขั้นตอนแรกทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน แล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้นักเรียนที่เป็นตัวแทนของกลุ่มประชากร ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์ ประเภทปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 60 ข้อ โดยมีการตรวจให้คะแนนแบบตอบถูกได้ 1 คะแนนและตอบผิดได้ 0 คะแนน ซึ่งวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ใน 3 องค์ประกอบ คือ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และทักษะทางภูมิศาสตร์ คุณภาพของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ พบว่า คุณภาพรายข้อ ได้แก่ 1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับนิยามเชิงปฏิบัติการตั้งแต่ 0.60 – 1.00 หมายความว่าข้อคำถามมีความตรงเชิงเนื้อหา 2) ค่าความยากของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.26 – 0.61 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างยากถึงค่อนข้างง่าย 3) ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามมีค่าตั้งแต่ 0.20 – 0.35 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่อยู่ในเกณฑ์จำแนกได้ปานกลางถึงจำแนกได้ดีพอสมควร คุณภาพรายฉบับ ได้แก่ 1) ค่าความเที่ยงแบบวัดทั้งฉบับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.909 ค่าความเที่ยงรายองค์ประกอบ ประกอบด้วย ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ และทักษะทางภูมิศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.681, 0.806 และ 0.834 ตามลำดับ 2) การวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่มี 3 องค์ประกอบและ 15 ตัวบ่งชี้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาจากค่าสถิติ ไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 104.39; df=86; p-value=0.09; /df=1.21; SRMR=0.04; RMSEA=0.03; GFI=0.96; AGFI=0.94 และ NFI=0.97 เกณฑ์ปกติของแบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการแปลผลแบบวัด มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T28 – T80 และเกณฑ์ปกติรายองค์ประกอบ ในด้านความสามารถทางภูมิศาสตร์ ด้านกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และด้านทักษะทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนมาตรฐานทีปกติตั้งแต่ T31 – T74, T32 – T77 และ T30 – T77 ตามลำดับ ส่วนคู่มือการใช้แบบวัดความฉลาดรู้เรื่องภูมิศาสตร์ มีความชัดเจน เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างครบถ้วน The purpose of this research is as follows: 1) to develop the geographic literacy scale, 2) to validate the geographic literacy scale, 3) to establish the norms of the geographic literacy scale, and 4) to construct the manual of the geographic literacy scale. The sample used to check the quality and develop the measuring scale is 5 experts and high school students in the Nonthaburi Secondary Educational Service Area Office. 17,876 people had studied all indicators of geography at the high school level. The researcher randomized 400 people using a two-stage random sampling method. The first step was to randomly stratify according to the size of the school. Then simple randomization was performed to obtain students who were representative of the population. The results show that the developed geographic literacy scale comprised situational measurement. Each item is a multiple-choice question with 4 options, with a correct answer scoring 1 point and a wrong answer scoring 0 points. The scale measures geographic literacy in 3 components: geographical ability, geography processes, and geography skills. The quality of the geographic-literacy scale shows that 1) the content validity of the geographic-literacy scale has a consistency index between the question and the operational definition (IOC) between 0.60-1.00. This means that the questions are content valid 2) the difficulty of the questions is between 0.26–0.61 which means that the questions range from quite difficult to quite easy and 3) the discriminatory power of the questions is between 0.20–0.35 which means that the questions classification criteria are moderate to reasonably good. Each edition quality consists of 1) the reliability of the whole scale was 0.909. The reliability of the geographical ability component, geography processes component, and geography skills component were 0.681, 0.806, and 0.834, respectively. 2) construct validity analysis found that the geography intelligence measure has 3 components and 15 indicators. This is consistent with the empirical data. The chi-square value is 104.39; df=86; p-value=0.09; /df=1.21; SRMR=0.04; RMSEA=0.03; GFI=0.96; AGFI=0.94 and NFI=0.97. The norms for geographic literacy scale of T-Score used for the interpretation of normal measurement results were in the range of T28–T80. Normal criteria for each component in the area of geographic ability, geographic process, and geographic skills are T31–T74, T32–T77, and T30–T77, respectively. The user manual for geographic literacy scale is clear, suitable for use, and contains all essential components.References
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-Literacy Learning for our planet ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
โชติกา ภาษีผล. (2559). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ Learning Measurement and Evaluation. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2561). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ ไชยโส. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. (อัดสำเนา).
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2563). โมเดลสมการโครงสร้าง Structural Equation Modeling. ชลบุรี: เอ.พี.บลูปรินท์.
ภูเวียง ประคำมินทร์. (ม.ป.ป.) ภัยธรรมชาติ (Natural Disaster). สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2562, จาก earthquake.tmd.go.th/file_downloads/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.pdf
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิควัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชมรมเด็ก.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (Literacy). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
_______. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไร ซิรัมย์, พรทิพย์ ไชยโส, พิกุล เอกวรางกูร, และ ทรงชัย อักษรคิด. (2563). เทคนิคการประเมินการเรียนรู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20(1): 193-206.
Edelson, Daniel C. (2011). Geo-Literacy: Preparation for 21st Century Decision-Making. Retrieved on August 25, 2019, from https://media.nationalgeographic.org/assets/file/Geo-Literacy_Backgrounder.pdf
Misheck, Mhishi; Ezra, Pedzisai; and Mandora, Edward. (2013). Geographic Literacy and World Knowledge amongst Learning Students in Zimbabwe. Greener Journal of Educational Research. 3(7): 301-309.
Nolan, Robert E. (2002). “Geo-Literacy: How Well Adults Understand the World in Which They Live.” Adult Basic Education. 12 (3): 134-144.
Schumacker, R. E. and R. G. Lomax. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modelling. 4th ed. New York: Taylor and Francis.
Urfan, F; Darsiharjo, D; and Sugandi, D. (2018). Geo-Literacy between School Environment and Students Spatial Intelligence. IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 145: 1-10.
World Health Organization. (2020). Natural Event. Retrieved on March 9, 2020, from www.who.int/environmental_health_emergencies/natural_events/en/