บทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อชมรมผู้สูงอายุไทย
The Desirable Public Sector Roles for Thai Elderly Club
Keywords:
บทบาทภาครัฐ, ชมรมผู้สูงอายุไทยAbstract
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทย และ (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อผู้ชมรมสูงอายุไทยในทัศนะของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย เป็นงานวิจัยแบบผสม โดย การวิเคราะห์แบบสอบถาม สอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือประธานชมรมผู้สูงอายุของทุกภาคทั่วประเทศจำนวน 394 คน ระบุบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทยตามความสอดคล้องกับบทบาทของภาครัฐจากสามแนวคิดหลักของรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ คือ แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ และ แนวคิดธรรมาภิบาลภาครัฐใหม่ ต่อชมรมผู้สูงอายุไทย ด้วยการแจกแจงความถี่และร้อยละ และ วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ตัวแทนจากภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำนวน 14 คน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ในทัศนะของชมรมผู้สูงอายุไทยสอดคล้องกับบทบาทของภาครัฐตามแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่มากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31) และ (2)ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทภาครัฐที่พึงประสงค์ต่อผู้ชมรมสูงอายุไทยในทัศนะของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย มีสามประการหลัก คือ ภาครัฐควร มีการบูรณาการการดำเนินงานการพัฒนาและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชมรมผู้สูงอายุร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ภาครัฐควรเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหรือส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ และ ภาครัฐควรสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุสามารถดำเนินการด้วยตัวของชมรมผู้สูงอายุเองไปจนถึงการเป็นอีกหนึ่งองค์กรทางสังคมเพื่อสังคม ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่เช่นเดียวกันThis research has two objectives: 1) to study the desirable role of the public sector in the viewpoint of the Thai Elderly Club and 2) to study the proposal regarding the desirable role of public sector in Thai elderly clubs in the viewpoint of the public sector that is directly related to improvement of quality of life of Thai elderly. This is a mixed-method study. 394questionnaires were collected from the chairman of the elder’s club of every region across the country. They identified the desirable role of the public sector in the viewpoint of the Thai Elderly Club in accordance with the role of the public sector from the three main concepts of modern public administration: “New Public Management,” “New Public Service,” and “New Public Governance.” to Thai Elderly Club with frequency and percentage distribution. Content analysis was conducted of interviews with 14 key informants who were representatives from the public sector who were directly involved in the improvement of quality of life of elderly. The results reveal that 1) the desirable public sector role in the viewpoint of the Thai Elderly Club was consistent with the role of the public sector under the concept of “New Public Service,” with a mean of 4.06 and a standard deviation of 0.31 and 2) There are three main proposals for the desirable public sector in Thai elderly clubs in the viewpoint of the public sector that is directly related to the improvement of the quality of life of the Thai elderly. The public sector should integrate the implementation of development and problem-solving with the elderly clubs of the public sector that are directly involved for maximum efficiency. The public sector should be one of the supporters or promote collaboration between different sectors in the development of the elderly club, and public sector should encourage the elderly club to be able to operate by themself to become another social organization for society. The proposal thus is also consistent with the concept of “New Public Service”.References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กัญญารัตน์ รอดแก้ว, ปัญญา เลิศไกร, และสุดาวรรณ์ มีบัว. (2562). รูปแบบการจัดการชุมชนเพื่อให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเอง.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(2): 792-807.
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์. (2562). ความ “ใหม่” ของรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารสหวิทยาการ. 16(2): 54-83.
นุกูล ชิ้นฟัก, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, และ ธนา มณีพฤกษ์. (2559). บททดลองศึกษา การจัดการภาครัฐแนวใหม่ อธิบายผ่านแนวคิดของ Frederickson และ Smith จากหนังสือ The Public Administration Theory Prime. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น. 770-776). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). ถอดบทเรียนการบริหารจัดการสังคมสูงวัยระดับสุดยอดของภาครัฐญี่ปุ่น: มองผ่าน 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษา. 7(2): 39-64.
พรรณธิดา บุญพิทักษ์. (2548). การพัฒนาเครือข่ายกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ในสังกัดสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยครอบครัว). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพียงตะวัน พลอาจ และ ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2561). การส่งเสริมการจัดการระบบสวัสดิการสู่สังคมสูงอายุพื้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรธุรกิจภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วรรณลักษณ์ เมียนเกิด เดชา สังขวรรณ และรุ่งนภา เทพภาพ. (2562). กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ. วารสารคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 27(1): 1-31.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, เล็ก สมบัติ, ณัฏฐพัชร สโรบล, และธนิกานต์ ศักดาพร. (2555). ลักษณะการดำเนินงานและกิจกรรมของชมรมผู้อายุ. กรุงเทพฯ: JPRINT 2.
สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี, สมชาย วิริภิรมย์กุล, วิไลวรรณ ทองเจริญ, จันทนา รณฤทธิวิชัย และ ทีปภา แจ่มกระจ่าง. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา.12(3): 31-47.
สวรรยา ธรรมอภิพล, นันทิชา อ่อนละมัย, และ จรรยพร ตันเจริญ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11(2): 352-365.
สิริวัลลิ์ พฤษาอุดมชัย และ สวรรยา ธรรมอภิพล. (2560). ปัจจัยความสำเร็จชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts). 10(1): 1439-1453.
สุนทร ปัญญะพงษ์, อัญชลี ชัยศรี, ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา, วิทัญูญู ขําชัยภูมิ และ วิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ. (2560). รูปแบบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุในจังหวัดชัยภูมิ.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3): 1-16.
สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, ศิริพันธุ์ สาสัตย์, และ ขวัญใจ อำนาจซื่อสัตย์. (2552). รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 1(2): 22-31.
อัญชิรญา จันทรปิฎก. (2560). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อผู้สูงอายุไปสู่การปฏิบัติของชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0" (Creative RMUT and Sustainable Innovation for Thailand 4.0) (น.276-286). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา.