การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรวัยทำงาน รองรับการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ

The Development of Training Program for Working Adults on Risk and Disaster Management

Authors

  • ปภาดา บุบผาสวรรค์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

บุคลากรวัยทำงาน, การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ, การพัฒนาบุคลากร

Abstract

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรวัยทำงานในการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ และเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับพัฒนาบุคลากรวัยทำงานรองรับการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ผู้บริหารบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีประสบการณ์ทำงานในด้านการบริหารเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี และมีส่วนรับผิดชอบการจัดการความเสี่ยงในองค์กร จากบริษัทเอกชนขนาดกลาง 3 ราย และขนาดใหญ่ 3 ราย รวมทั้งสิ้น 6 ราย ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบุคลากรวัยทำงานในการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ คือ การจัดการความเสี่ยง การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ ทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรวัยทำงานในการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรวัยทำงานในการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ คือ ความกระตือรือร้น วิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล และความรอบคอบ ซึ่งใช้ข้อมูลความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับบุคลากรวัยทำงานรองรับการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ โดยจะเป็นแนวทางสำหรับสถาบันการศึกษาในการพัฒนาบุคลากรวัยทำงานต่อไป

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.

_________________________. (2559). การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เวิร์คพริ้นติ้ง.

ฐิติพร สินสุพรรณ, พรรณวดี สมบูรณ์, และ ชนิดาภา ยุกตะทัต. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงาน ประเทศไทย.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 13(25): 103-118.

รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาสมรรถนะ ตัวชี้วัดสมรรถนะบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา. (2554). มหาอุทกภัย 2554: ผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก https://bit.ly/2VeIUBz

สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2553). Competency: เครื่องมือในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก http://www.stabundamrong.go.th/web/book/53/b19_53.pdf

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรนํ้าและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2561). แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันสารสนเทศทรัพยากรนํ้าและการเกษตร (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก https://bit.ly/350RARC

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER38/DRAWER027/GENERAL/DATA0000/00000852.PDF

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2563). อว. ระดม 100 มหาวิทยาลัยพัฒนา 500 หลักสูตรแห่งอนาคต เตรียมพร้อมรับตำแหน่งงานใหม่ 5 แสน ตำแหน่ง. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/home/index.php/pr/news/1024-100-500-5

สุภาวดี ดวงจันทร์. (2559). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ถ่ายเอกสาร.

อรุณรัตน์ สิริภักดีกาญจน์ และ วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2557). การศึกษาการจัดการภาวะภัยพิบัติทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(2): 348-359.

อุทัยวรรณ จรุงวิภู. (2559). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565, จาก http://www.oic.or.th/sites/default/files/content/85938/rwmelm-nch-2.pdf

เอกชัย พุทธสอน. (2556). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบโรงเรียน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 17(1): 17-29.

Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO). (2004).

Enterprise Risk Management Integrated Framework. Retrieved October 5, 2022, from https://web.actuaries.ie/sites/default/files/erm-resources/erm_coso_application_techniques.pdf

Gale, E.L., & Saunders, M.A. (2013). The 2011 Thailand Flood: Climate Causes and Return Periods. Journal of Royal Meteorological Society. 68(9): 233-237.

Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2014). Climate Change 2014 Synthesis Report. Retrieved October 5, 2022, from https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/02/SYR_AR5_FINAL_full.pdf

Knowles, M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education. New York: Cambridge Adult Education.

World Economic Forum. (2019). The Global Risks Report 2019, 14th Edition. Retrieved October 5, 2022, from http://www3.weforum.org/docs/WEF_Global_Risks_Report_2019.pdf

Downloads

Published

2023-06-30