การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์บนคลาวด์เพื่อส่งเสริม ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

The Development of an Instructional Model using Problem-Based Learning and Connectivism Learning through the Use of Cloud Technology to Enhance Geo-literacy and Transfer Learning Abilities of Upper Secondary School Students

Authors

  • กนก จันทรา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

Keywords:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, แนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์ , เทคโนโลยีคลาวด์ , ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์, การถ่ายโยงการเรียนรู้

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์บนคลาวด์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่สองเป็นการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน โดยเป็นห้องทดลอง 1 ห้อง และห้องควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1.)  รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้คอนเน็คติวิสม์บนคลาวด์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ (1) กระตุ้นความสนใจด้วยการเผชิญปัญหาที่ท้าทาย (2) สืบค้นความรู้จากเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจปัญหา (3) ระดมความคิดเพื่อหาข้อสรุปหรือทางออกร่วมกัน และ (4) สร้างผลงานร่วมกันเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนคลาวด์ (2.)  ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีดังนี้ (2.1)  นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2.2)  นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ และความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กรมวิชาการ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา .

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2555). ปัญญาสะสม บนสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 14(1), 91-100.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2561. คู่มือการใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระ ภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ใยไหมเอดดูเคท.

Backler, Stoltman. 1986. The nature of Geography literacy. Eric digest 35: November 1986.

Barrow H.S, & Tamblyn R.M. (1980). Problem-based learning: An approach to medical education. New York: Norton.

Bell, F. (2010). Connectivism: Its place in theory-informed research and innovation in technology-enabled learning. The International Review of Research in Open and Distance Learning, 12(3), 98-118.

Darrow, S. (2009). Connectivism learning theory: Instructional tools for college courses. Western Connecticut State University.

Delisle R. (1997). How to use problem-based learning in the classroom. Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.

Duch B. (1996). Problem-based learning in physics: The power of students teaching students. About teaching, 6-7.

Edelson, D. (2011). Geo-literacy. Retrieved from https://education.nationalgeographic.org/resource/geo-literacy-preparation-far-reaching-decisions

Hunter, M. (1995). Teacher for transfer. CA: Corwin.

Julie and Evans, Terry. (2011) “Interconnecting Networks of Practice for Professional .

Kop, R., & Hill, A. (2008). Connectivism: Learning theory of the future or vestige of the past? The International Review of Research in Open and Distributed Learning, 9(3).

Mestre, J. P. (2002). Probing adults' conceptual understanding and transfer of learning via problem posing. Journal of Applied Developmental Psychology, 23(1), 9-50.

Siemens, G. (2005b). Learning development cycle: Bridging learning design and modern knowledge needs. Elearnspace everything elearning.

Sternberg, R. J., W. M. Williams. (2002). Educational Psychology. Boston: Allyn & Bacon.

Walton H.J., & Matthew M.B. (1989). Essentials of problem-based learning. Medical Education, 23(6), 542-

Downloads

Published

2023-02-17